การพัฒนาเครื่องฟักไข่อัจฉริยะระบบควบคุมอัตโนมัติสำหรับวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพาณิชย์
วันที่เขียน 12/3/2561 19:29:31     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 21:42:58
เปิดอ่าน: 1417 ครั้ง

การดำเนินโครงการวิจัยการพัฒนาเครื่องฟักไข่อัจฉริยะระบบควบคุมอัตโนมัติสำหรับวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพาณิชย์ รหัสโครงการวิจัย PRE2_43 นี้ได้ดำเนินการวิจัยเพื่อนำเทคโนโลยีทางวิศวกรรมมาใช้ประกอบกับการพัฒนาการทำเกษตรเชิงนิเวศเพื่อเพิ่มมูลค่าในการดำเนินการเกษตร การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น การดำเนินโครงการเป็นการออกแบบโดยหลักการ และการสร้างเครื่องฟักไข่ขนาด 1.2 x 1.2 x 0.7 ลูกบาศ์กเมตร จำนวน 4 เครื่อง และตู้เกิดที่มีขนาดปริมาตรภายในขนาด 1.5 ลูกบาศ์กเมตร จำนวน 2 ตู้ ดำเนินพัฒนาและนำไปติดตั้งเครื่องฟักไข่ และตู้เกิด ณ. สถานประกอบการเพื่อเก็บข้อมูล (เดือนสิงหาคม 2560 ถึงตุลาคม 2560) โดยประยุกต์หลักการของการจัดการธุรกิจการเกษตรในการดำเนินงาน ผลการดำเนินการพบว่าการดำเนินโครงการวิจัยดังกล่าว พบว่าเครื่องฟักไข่ และตู้เกิดที่ถูกพัฒนาในการศึกษานี้สามารถฟักลูกไก่ได้เฉลี่ยเท่ากับ 858  17 ตัวต่อสัปดาห์ หรือสามารถฟักที่ลูกไก่ได้เท่ากับ 3,432 ตัวต่อเดือน โดยประสิทธิภาพในการฟักลูกไก่ได้เท่ากับ 84.69 เปอร์เซ็นต์ ภายหลังการดำเนินโครงการ ผู้ประกอบการมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 575,232 บาทต่อปี โดยคิดเป็นกำไรที่ได้จากจำหน่ายลูกไก่ เป็นเวลา 1 ปี เท่ากับ 234,392 บาทต่อปี การวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์วิศวกรรมเพื่อหาคำนวณจุดคุ้มทุน และการคำนวณอัตราการตอบแทนเงินลงทุนการปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยเครื่องฟักไข่ มีค่าเท่ากับ 8 เดือน และ 156.26 เปอร์เซ็นต์ ต่อปี ตามลำดับ ส่งผลให้กลุ่มสมาชิกเกิดความสนใจ และเข้าร่วมในกลุ่มวิสาหกิจเพิ่มขึ้นจาก 18 ราย เพิ่มเป็น 31 ราย และผลการประเมินมูลค่าเงินปัจจุบันของโครงการ (ระยะเวลา 5 ปี) ด้วยอัตราส่วนของผลประโยชน์ต่อเงินลงทุนของโครงการมีมูลค่าเท่ากับ 1,010,698 บาท

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=774
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ครบ 119 ปี เรื่อง “งานวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG Bio-Circular-Green Economy”
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ ได้อนุญาติให้ข้าพเจ้า นางอัจฉรา แกล้วกล้า ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน อัจฉรา แกล้วกล้า  วันที่เขียน 31/3/2567 11:09:58  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 10:44:10   เปิดอ่าน 35  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง