การวัดและการประเมินผลตามกรอบมาตรฐาน TQF
วันที่เขียน 12/2/2561 15:55:20     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 21:51:05
เปิดอ่าน: 3390 ครั้ง

จากการเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การวัดและการประเมินผลตามกรอบมาตรฐาน TQF ซึ่งจัดโดย สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยสยาม ระหว่างวันที่ 18- 19 มกราคม 2561 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ (สุขุมวิท 11) กรุงเทพมหานคร เนื่องด้วยในปัจจุบันการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษาต้องเป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 (TQF) ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงรายละเอียดของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน โดยมุ่งเน้นมาตรฐานผลการเรียนรู้ (learning outcomes) ของผู้เรียนอย่างน้อย 5 ด้าน คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี เพื่อให้คุณภาพของบัณฑิตที่ผลิตในสาขาหรือสาขาวิชาของระดับคุณวุฒิเดียวกันของสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งมีมาตรฐานที่เทียบเคียงกันได้ทั้งในระดับชาติและระดับสากล ในการอบรมนั้น ผู้บรรยายได้กล่าวถึงนิยามของการวัด ว่าเป็นการกำหนดหรือให้ตัวเลข ปริมาณ อันดับ หรือลักษณะของสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ โดยใช้เครื่องมือในการวัด ในขณะที่การประเมินผล หมายถึงกระบวนการในการตัดสินคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ โดยอาศัยข้อมูลจากการวัดนำมาพิจารณาเทียบกับเกณฑ์ ซึ่งพฤติกรรมการเรียนรู้จะมี 3 รูปแบบคือ 1. พุทธิพิสัย เป็นพฤติกรรมด้านความรู้ ความคิดที่เกี่ยวข้องกับความสามารถทางสมองและสติปัญญา โดย Bloom และคณะ (1965) แบ่งเป็น 6 ขั้น ได้แก่ ความรู้ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า 2. จิตพิสัย เป็นพฤติกรรมด้านจิตใจ ความรู้สึกนึกคิด เกี่ยวกับค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม เจตคติ โดย Krathwohl และคณะ (1964) แบ่งเป็น 5 ขั้น ได้แก่ การรับรู้ การตอบสนอง การรู้คุณค่า การจัดระบบคุณค่า และการสร้างลักษณะนิสัย 3. ทักษะพิสัย เป็นพฤติกรรมด้านการปฏิบัติ/การแสดงออก เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งต้องอาศัยการประสานงานของประสาทและกล้ามเนื้อ เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว คล่องแคล่ว ชำนาญ โดย Simpson (1966) จำแนกการพัฒนาการเป็น 7 ขั้น ได้แก่ การรับรู้ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ความพร้อมที่จะปฏิบัติ การปฏิบัติตามข้อแนะนำ การปฏิบัติจนเป็นนิสัย การปฏิบัติที่สลับซับซ้อน การปรับเปลี่ยนการปฏิบัติ และการสร้างแบบแผนการปฏิบัติใหม่ โดยวิธีการที่ใช้ในการวัดและประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ จำแนกตามพฤติกรรมการเรียนรู้ ดังนี้ 1. พุทธิพิสัย ใช้วิธีการสอบและการสัมภาษณ์ 2. จิตพิสัย ใช้วิธีการสัมภาษณ์ การสอบถาม/รายงานความรู้สึก และการสังเกต 3. ทักษะพิสัย ใช้วิธีการสังเกตและการประเมินผลงาน โดยการประเมินผลการเรียนรู้ตามแนวคิดใหม่มีความเชื่อดังนี้ 1. ไม่มีผู้เรียนกลุ่มใดจะใช้เป็นกลุ่มมาตรฐานให้ยึดถือเป็นมาตรฐานได้ ผู้เรียนแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะตน มีความถนัดและความสนใจที่แตกต่างกัน 2. การประเมินทางตรงที่อิงการปฏิบัติด้วยการประเมินหลากหลายจะสามารถประเมินความรู้ คุณธรรม และกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนได้สมบูรณ์กว่า แม่นยำถูกต้องกว่า และได้ภาพพจน์ของความยุติธรรมมากกว่า 3. การประเมินเป็นส่วนประกอบที่กลมกลืนกับหลักสูตร ดังนั้นการประเมินจึงเกิดขึ้นตลอดหลักสูตร และการเรียนการสอนประจำวัน 4. การประเมินจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของความเป็นมนุษยชาติที่เกี่ยวข้องกับสังคมและคนอื่น ดังนั้นจึงต้องเกี่ยวข้องกับบุคลต่าง ๆ ได้แก่ครู พ่อแม่ เพื่อน ๆ และตัวผู้เรียนเอง ซึ่งถือเป็นหลักสำคัญทำให้กระบวนการประเมินมีความถูกต้องแม่นยำ โดยลักษณะของการประเมินการเรียนรู้ มี 3 ลักษณะ คือ 1. การประเมินก่อนเรียน เป็นการประเมินความพร้อมและพื้นฐานของผู้เรียนและ/หรือ การประเมินความรอบรู้ในเรื่องที่จะเรียนก่อนเรียน 2. การประเมินระหว่างเรียน เป็นการตรวจสอบพัฒนาการของผู้เรียน 3. การประเมินเพื่อสรุปผลการเรียน เป็นการประเมินหลังเรียน และ/หรือการประเมินผลการเรียนปลายปี/ปลายภาค นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตในการวัดและประเมินผล ดังนี้ 1. ควรให้ความสำคัญกับพัฒนาการที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนมากกว่าเน้นที่คะแนน 2. ควรให้ความสำคัญกับการประเมินระหว่างเรียน มากกว่าประเมินปลายภาคเรียน 3. ควรใช้เครื่องมือที่หลากหลายเพื่อให้การผลการวัดและประเมินมีความน่าเชื่อถือ 4. ควรให้ความสนใจกับผู้เรียนอย่างทั่วถึง สำหรับการปฏิบัติการนั้น มีผู้เข้าร่วมการอบรมประมาณ 100 คน แบ่งเป็น 10 กลุ่ม ข้าพเจ้าได้อยู่กลุ่มที่ 2 ซึ่งประกอบด้วยคณาจารย์จากสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ อาทิ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และอื่น ๆ ซึ่งในการปฏิบัติจะเลือก มคอ. 3 ของคณาจารย์ในกลุ่มที่มีการวิพากษ์จากสมาชิกกลุ่มว่ามีการแก้ไขน้อยที่สุดและเหมาะสมที่จะใช้ในการนำเสนอ โดยมีวิทยากรช่วยในการให้ข้อเสนอแนะสำหรับการแก้ไข มคอ. 3 ของแต่ละกลุ่ม จากความรู้ที่ได้รับในการเข้าร่วมประชุมวิชาการดังกล่าว ข้าพเจ้าสามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงการเขียน มคอ. 3 ในส่วนของการวัดและประเมินผลตามผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน ให้ดียิ่งขึ้น

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=768
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศ
การเขียนบทความทางวิชาการเพื่อให้ได้ตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับบุคลากรสายวิชาาร เนื่องจากหลังจากที่ทำการศึกษา วิจัย ค้นคว้า ทดลองสิ่งใหม่ ๆ ๆได้แล...
Chat GPT  บทความวิชาการ  วารสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 4/3/2567 10:52:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 1:50:02   เปิดอ่าน 60  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการติดตามบุคคลากรคณะวิทยาศาสตร์ที่ครบกำหนดในการดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น กิจกรรมที่ 1 การสร้างความรู้เกี่ยวกับการขอตำแหน่งทางวิชาการ
โครงการติดตามบุคคลากรคณะวิทยาศาสตร์ที่ครบกำหนดในการดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น กิจกรรมที่ 1 การสร้างความรู้เกี่ยวกับการขอตำแหน่งทางวิชาการ ในวันที่ 24 มกราคม 2567 เวลา 08.30 - 15.00 น. ณ ห้องประชุม 2 อาค...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 23/2/2567 23:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/3/2567 22:32:54   เปิดอ่าน 61  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง