การเข้าร่วมโครงการ Talent Mobility
วันที่เขียน 20/11/2560 12:11:00     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/5/2567 8:31:27
เปิดอ่าน: 3100 ครั้ง

โครงการ Talent Mobility ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) เป็นโครงการส่งเสริมบุคลากรและนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม จากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของภาครัฐไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในภาคการผลิตและบริการ โดยสนับสนุนการยืมตัวบุคลากร/นักวิจัยของหน่วยงานรัฐไปทำงานกับบริษัทเอกชนในตำแหน่งที่ขาดแคลน โดยนักวิจัยจะได้สัมผัสกับการปฏิบัติจริงในสถานประกอบการและได้พบปัญหาซึ่งอาจพัฒนาไปเป็นโจทย์วิจัยในอนาคตได้ กิจกรรมที่บุคลากรจะเข้าไปปฏิบัติงานได้แก่ การวิจัยและพัฒนา (R&D) การแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิค การวิเคราะห์ทดสอบและระบบมาตรฐาน และการจัดการ ซึ่งบุคลากรที่เข้าไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการจะได้รับเงินเดือน รวมเงินประจำตำแหน่งจากต้นสังกัด และเงินพิเศษจากสถานประกอบการ

 

ขั้นตอนในการดำเนินงานต่างๆ จะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย

  • สถานประกอบการในภาคการผลิตและบริการ
  • บุคลากรด้าน วทน.
  • หน่วยงานต้นสังกัดของบุคลากร
  • สวทน.

ประเภทของสมาชิกมี 3 ประเภท คือ

 

  1. สถานประกอบการ จะได้รับการยกเว้นการจ่ายเงินค่าชดเชยแก่หน่วยงานต้นสังกัด  การเข้าร่วมและจัดงาน Talent Mobility Fair, การใช้บริการ TM Clearing House และการใช้สถานที่ห้องประชุม ของ สวทน.
  2. สถาบันการศึกษาหรือสถาบันวิจัยของรัฐ จะได้รับค่าชดเชยสำหรับการสรรหาบุคลากรทดแทน, การเข้าร่วมและจัดงาน Talent Mobility Fair, การใช้บริการ TM Clearing House และการใช้สถานที่ห้องประชุมของ สวทน.
  3. บุคลากร วทน. จะได้เข้าร่วมงาน Talent Mobility Fair, การใช้บริการ TM Clearing House และการใช้สถานที่ห้องประชุมของ สวทน.

กระบวนการดำเนินการของโครงการมีดังนี้

  1. สถานประกอบการแจ้งความต้องการบุคลากร วทน. มายังศูนย์อำนวยความสะดวก Talent Mobility (TM Clearing House)  โดยมีโจทย์การทำงาน หรือ โครงการวิจัยที่ชัดเจน และปัญหาของกระบวนการทำงานที่เผชิญอยู่ 
  2. ทางศูนย์จะทำการติดต่อไปยังบุคลากรและต้นสังกัดจากฐานข้อมูลของ Talent Mobility โดยคัดเลือกบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและความสามารถเหมาะสมกับความต้องการของสถานประกอบการ
  3. และเมื่อบุคลากรและต้นสังกัดตอบรับการไปทำงานวิจัยในสถานประกอบการแล้ว ทางศูนย์ จะทำการติดต่อไปยังสถานประกอบการ และประสานงานอำนวยความสะดวกในการทำสัญญาและตกลงในรายละเอียดระหว่างบุคลากร ต้นสังกัด และสถานประกอบการ  ซึ่งในการดำเนินการโครงการนี้ ทางสถานประกอบการจะจ่ายค่าชดเชยเพื่อจัดหาบุคลากรปฏิบัติงานทดแทนให้กับหน่วยงานต้นสังกัด และ สนับสนุนเงินเพิ่มพิเศษแก่บุคลากรที่เข้าไปปฏิบัติงาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลง

งบประมาณสนับสนุน 

งบประมาณสนับสนุนสามารถได้รับจาก สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) และ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม (สวทน.) โดยมีเงื่อนไขดังนี้

  • งบประมาณสนับสนุนจาก สวทน.

บุคลากร วทน. และสถานประกอบการสามารถจัดทำข้อเสนอโครงการร่วมกันและเสนอเข้ามาเพื่อขอรับการสนับสนุนจาก สวทน.  ได้

1.ค่าชดเชยเพื่อจ้างบุคลากรทดแทนหรือการเพิ่มเวลาปฏิบัติงานของบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการ

                   งบชดเชย = 1.5 * เงินเดือน * FTE * จำนวนเดือน

สัดส่วนร้อยละของวันต่อสัปดาห์ที่ปฏิบัติงาน (FTE)  และ 1.5 เท่าของเงินเดือน เดือนละไม่เกิน 60,000 ให้กับหน่วยงานต้นสังกัด 

2. ค่าตอบแทนผู้ช่วยนักวิจัย

ระดับการศึกษา

เงินสนับสนุนต่อเดือน

นักศึกษาระดับปริญญาเอก

12,000

นักศึกษาระดับปริญญาโท      

10,000

นักศึกษาระดับปริญญาตรี      

8,000

3. โดยอาจารย์/นักวิจัยต้องไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการอย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3  เดือน แต่ไม่เกิน  2 ปี  และมีหน่วยงานต้นสังกัดเป็นมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยของภาครัฐ

4. สถานประกอบการต้องเป็น SMEs เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายไทย โดยกิจกรรมของสถานประกอบการต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องต่อไปนี้

  • การวิจัยและพัฒนา
  • การแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิคและวิศวกรรม
  • การวิเคราะห์ทดสอบและระบบมาตรฐาน
  • การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม
  • งบประมาณสนับสนุนจาก สกอ.
  1. ค่าตอบแทนสำหรับอาจารย์/นักวิจัย วงเงินไม่เกิน 400,000 บาทต่อโครงการ

         (ค่าตอบแทนระดับตำแหน่ง * ระยะเวลาปฏิบัติงาน)

ระดับการศึกษา

เงินสนับสนุนต่อเดือน

อาจารย์

4,000

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

5,000

รองศาสตราจารย์/ศาสตราจารย์        

6,000

2. ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย เช่น ค่าจ้างวิเคราะห์และทดสอบ ค่าวัสดุอุปกรณ์ตามระเบียบของสถาบันอุดมศึกษา วงเงินไม่เกิน 200,000 บาท

3. สถานประกอบการได้ทุกขนาด แต่ต้องมีลักษณะดังนี้

3.1 ก่อให้เกิดการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ ด้านกระบวนการหรือการพัฒนาด้านโครงสร้างองค์กรในเรื่องการสร้างและพัฒนาการวิจัยในองค์กร (R&D)

3.2 ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา

4. อาจารย์/นักวิจัยผู้เสนอโครงการต้องเป็นอาจารย์/นักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัด สกอ. ได้รับความเห็นชอบจากสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัด



ดาวน์ไฟล์เอกสารไฟล์ PDFได้ที่นี้

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=752
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร » Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร
Data Science หรือ วิทยาการข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ โดยครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บข้อมูล (Collect) การจัดการข้อมูล (Manage) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyze) ไปจนถึงขั้นตอนการนำข้อมูลมาช...
Data Science  วิทยาการข้อมูล     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 24/4/2567 13:27:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/5/2567 19:54:28   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดย...
ChatGPT  การประชุมวิชาการ  เทคโนโลยี  วิทยาศาสตร์  สิ่งแวดล้อม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 11/4/2567 15:19:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/5/2567 6:22:37   เปิดอ่าน 73  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิริพร สมุทรวชิรวงษ์  วันที่เขียน 2/4/2567 16:14:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/5/2567 3:25:17   เปิดอ่าน 98  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง