Improvement of purity of policosanol extracted from beeswax
วันที่เขียน 16/2/2560 17:42:51     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 11/5/2567 13:43:25
เปิดอ่าน: 3033 ครั้ง

ข้าพเจ้า ได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการ Pure and applied Chemistry International Conference 2017 (PACCON 2017) และได้นำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ ในหัวข้อ Improvement of purity of policosanol extracted from beeswax ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ศึกษาการนำไขผึ้งซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีมูลค่าต่ำและหาได้ง่ายในจังหวัดเชียงใหม่มาสกัดสารโพลิโคซานอล ซึ่งเป็นสารสกัดที่มีมูลค่า มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยได้มุ่งเน้นถึงกระบวนการในการทำให้โพลิโคซานอลมีความบริสุทธิ์มากขึ้น โดยพบว่า การเลือกใช้ชนิดของตัวทำลายอินทรีย์ในขั้นตอนการทำให้บริสุทธิ์มีผลต่อความบริสุทธิ์ของโพลิโคซานอลที่ได้ และยิ่งไปกว่านั้นเทคนิคการตกผลึกนับว่าเป็นเทคนิคพื้นฐานที่สำคัญซึงส่งผลต่อความบริสุทธิ์ของสาร นอกจากนี้ ยังได้เข้าร่วมรับฟังการนำเสนอผลงานในหัวข้อต่างๆ

ข้าพเจ้านางสาวอนรรฆอร ศรีไสยเพชร ตำแหน่ง พนักงานมหาวิทยาลัย (อาจารย์) สังกัด หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี  คณะวิทยาศาสตร์ ได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการ Pure and applied Chemistry International Conference 2017 (PACCON 2017) ระหว่างวันที่ 2-3 กุมภาพันธ์ 2560   ณ Convention Centre Building, The Government Complex, Chaeng Watthana Road, Thung Song Hong, Laksi, Bangkok และได้นำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ ในหัวข้อ Improvement of purity of policosanol extracted from beeswax ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ศึกษาการนำไขผึ้งซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีมูลค่าต่ำและหาได้ง่ายในจังหวัดเชียงใหม่มาสกัดสารโพลิโคซานอล ซึ่งเป็นสารสกัดที่มีมูลค่า มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยได้มุ่งเน้นถึงกระบวนการในการทำให้โพลิโคซานอลมีความบริสุทธิ์มากขึ้น โดยพบว่า การเลือกใช้ชนิดของตัวทำลายอินทรีย์ในขั้นตอนการทำให้บริสุทธิ์มีผลต่อความบริสุทธิ์ของโพลิโคซานอลที่ได้ และยิ่งไปกว่านั้นเทคนิคการตกผลึกนับว่าเป็นเทคนิคพื้นฐานที่สำคัญซึงส่งผลต่อความบริสุทธิ์ของสาร

นอกจากนี้ ยังได้เข้าร่วมรับฟังการนำเสนอผลงานในหัวข้อต่างๆ ซึ่งล้วนเป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ตัวอย่างเช่น

1. งานวิจัยที่ศึกษาถึงการตรึงเอนไซม์บนพาหะตรึง อันได้แก่ไคโตซาน เพื่อให้มีความทนทานต่อแรงจากภายนอกในกระบวนการหมักในสภาวะไร้อากาศ ทั้งนี้เพื่อให้เอนไซม์มีสเถียรภาพ และทำให้เกิดการเร่งปฏิกิริยาได้อย่างสูงสุด โดยใช้ไคโตซานซึ่งเป็นพอลิเมอร์ที่มีหมู่ฟังชันก์ที่เหมาะสมต่อการเป็นพาหะตรึง

          2. งานวิจัยที่ศึกษาการเร่งปฏิกิริยาด้วยไมโครเวฟ ซึ่งช่วยลดระยะเวลาการสังเคราะห์สารชนิดต่างๆ จากหลายสิบชั่วโมง หรือหลายวัน ให้เหลือเพียงไม่กี่นาที เนื่องจากการให้พลังงานด้วยคลื่นไมโครเวฟ โดยเป็นการทำให้โมเลกุลของน้ำเกิดการปั่นป่วนจนเกิดพลังงานความร้อนในการเร่งปฏิกิริยาขึ้น ซึ่งเป็นการให้ความร้อนอย่างทั่วถึงจากด้านในออกมายังด้านนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถเร่งปฏิกิริยาโดยมีตัวเร่งวิวิธภัณฑ์ได้อีกด้วย

3. งานวิจัยที่นำเสนอเกี่ยวกับ โดยการสังเคราะห์พอลิเมอร์ในระดับนาโน โดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ คือ แป้งจากต้นพุทธรักษาในการผลิตวัสดุพอลิเมอร์ขนาดนาโน ทั้งนี้แป้งที่นำมาใช้จะต้องผ่านกระบวนการดัดแปร โดยจากการศึกษาพบว่า การดัดแปรแป้งไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างส่วนผลึก ดังนั้นจึงไม่มีผลกระทบเมื่อนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตพอลิเมอร์ระดับนาโน

4. งานวิจัยที่นำเสนอเกี่ยวกับการสกัดกลุ่มเอนไซม์จากจุลินทรีย์ Aspergillus sp. ซึ่งเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่พบในการผลิตด้ายจากเส้นใยสับปะรด พบว่ากลุ่มเอนไซม์ที่สกัดได้สามารถทนทานต่อ NaOH ซึ่งเป็นสารเคมีที่สำคัญมี่ใช้ในการผลิตเส้นด้ายจากเส้นใยสับปะรด

          ซึ่งทำให้ได้มองเห็นแนวทางการวิจัยที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่ในอนาคตต่อไป

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=617
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร » Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร
Data Science หรือ วิทยาการข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ โดยครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บข้อมูล (Collect) การจัดการข้อมูล (Manage) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyze) ไปจนถึงขั้นตอนการนำข้อมูลมาช...
Data Science  วิทยาการข้อมูล     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 24/4/2567 13:27:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 10/5/2567 23:17:20   เปิดอ่าน 37  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดย...
ChatGPT  การประชุมวิชาการ  เทคโนโลยี  วิทยาศาสตร์  สิ่งแวดล้อม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 11/4/2567 15:19:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 11/5/2567 11:41:02   เปิดอ่าน 60  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิริพร สมุทรวชิรวงษ์  วันที่เขียน 2/4/2567 16:14:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 10/5/2567 23:17:24   เปิดอ่าน 82  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง