โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:01:51
เปิดอ่าน: 23 ครั้ง

โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ก.พ.ว.) ในวันที่ 25 มิถุนายน 2567 เวลา 08.30-16.00 น. ณ ห้องประชุม 304 ชั้น 3 สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ

ข้าพเจ้าขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการเข้าร่วมโครงการฯ ดังกล่าว ดังต่อไปนี้

  1. สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ
  • ได้รับฟังการบรรยาย เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน โดยศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำให้ทราบว่าอาจารย์ควรมีการพัฒนาผลงานทางวิชาการ เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ เพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้ลึกซึ้งมากขึ้น ผลงานทางวิชาการ เช่น งานวิจัย ประกอบด้วย รายงานวิจัย บทความงานวิจัย monograph/book chapter ในการเลือกวารสารวิชาการระดับชาติ ควรตีพิมพ์อย่างต่อเนื่อง 3 ปี มี readers หลากหลายสถาบัน อย่างน้อย 3 ท่าน (ไม่นับ Editor) ส่วนวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ควรอยู่ในฐาน ISI/Scopus/Web of Science ต่อยู่ในฐาน Web of Science จะดีกว่า
  • ผลงานในการขอตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ควรนำเสนอใน งาน Conference ที่มี Full Proceedings จัดโดยสมาคมวิชาการ/วิชาชีพ หรือผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารที่มี citation จะมีโอกาสได้ B/A/A+
  • การนับชั่วโมงการสอน ขึ้นกับเกณฑ์ของคณะ การขอตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ใช้ เอกสารประกอบการสอน รองศาสตราจารย์ใช้เอกสารคำสอน
  • การขอตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ใช้ผลงาน คือ
  1. งานวิจัย 2 เรื่อง (ได้ระดับ B ขึ้นไป และมีอย่างน้อย 1 เรื่องที่ผู้ขอเป็น First Author หรือ Corresponding Author) หรือ
  2. งานวิจัย 1 เรื่อง กับผลงานทางวิชาการอื่น 1 รายการ หรือ
  3. งานวิจัย 1 เรื่อง กับตำรา หรือหนังสือ

และผลงานควรมีความทันสมัย

  • การขอตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ใช้ผลงาน มีหลายวิธี เช่น

วิธีที่ 1

  1. งานวิจัย 2 เรื่อง (ได้ระดับ B ขึ้นไป และมีอย่างน้อย 1 เรื่องที่ผู้ขอเป็น First Author หรือ Corresponding Author) หรือ
  2. งานวิจัย 1 เรื่อง กับผลงานทางวิชาการอื่น 1 รายการ

และ

  1. ตำรา หรือหนังสือ 1 เล่ม

วิธีที่ 2

  1. งานวิจัย 3 เรื่อง (ได้ระดับ A 2 เรื่อง เช่น ตีพิมพ์ในวารสารที่อยู่ใน Q1 มี volume ชัดเจน มี citation)
  • การตีพิมพ์ผลงาน ประเภทบทความ ให้พิจารณาวารสารที่มี Impact Factor สูง ๆ เพราะถูกนำไปใช้อ้างอิงจำนวนมาก
  • การตีพิมพ์ผลงาน ประเภทตำรา
  • ควรมี Course description มีความทันสมัย มีวิธีการใหม่ ๆ
  • สำนวนภาษา ความเชื่อมโยงแต่ละบท
  • บางตำราเพิ่ม QR code ในตำรา เพื่อสแกนเข้าไปดูรายละเอียดระบบที่น่าสนใจ
  • การนำรูปจากแหล่งอื่นมาใช้ ต้องขออนุญาตสำนักพิมพ์
  • ควรใส่เอกสารอ้างอิง 3 ปีย้อนหลัง
  • มีงานวิจัยสอดแทรก
  • งานวิจัย ควรมีความทันสมัย มีความใหม่ ไม่ซ้ำกับงานผู้อื่น และมีประโยชน์
  • จรรยาบรรณนักวิจัย 9 ข้อ
  1. ซื่อสัตย์ มีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ
  2. ตระหนักถึงพันธกรณีเจ้าของทุนและหน่วยงาน
  3. มีความรู้ในเรื่องที่วิจัย
  4. มีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย
  5. เคารพศักดิ์ศรี และสิทธิของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่าง
  6. มีอิสระทางความคิด โดยปราศจากอคติในทุกขั้นตอน
  7. พึงนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ
  8. พึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น
  9. รับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ

 

  1. ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่
  • ทำให้ทราบแนวทางการทำวิจัยที่ดี การเขียนบทความวิชาการให้ได้ตีพิมพ์ การเลือกวารสารให้เหมาะสมกับผลงาน
  • ทำให้ทราบแนวทางในการทำเอกสารประกอบการสอน/ตำรา/หนังสือ

 

  1. ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)
  • บุคลากรทราบแนวทางในการทำงานวิจัยที่ถูกต้อง ตามหลักวิชาการและจรรยาบรรณนักวิจัย

 

          อ. ดร.พิกุล ศรีดารัตน์

          ตำแหน่ง อาจารย์

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 4:33:25   เปิดอ่าน 23  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 2:37:51   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 4:48:37   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ความรู้จากการเข้าอบรม ประชุมวิชาการ » สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2566 นวัตกรรมเกษตร อาหาร และสุขภาพ
จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2566 นวัตกรรมเกษตร อาหาร และสุขภาพ ทำให้ได้รับความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน การนำวัสดุเหลือทิ้งไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ความรู้ด้านการแก้ไขจีโน...
การเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้  ประชุมวิชาการ  ภาวะโลกร้อน     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ยุพเยาว์ คบพิมาย  วันที่เขียน 19/6/2567 16:18:02  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 6:58:02   เปิดอ่าน 51  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง