เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารนานาชาติ กับการใช้ ChatGPT
วันที่เขียน 29/2/2567 11:57:56     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/4/2567 19:26:26
เปิดอ่าน: 192 ครั้ง

ปัจจุบัน ChatGPT มีบทบาทในการช่วยเขียนบทความ เขียนรายงาน หรือเขียนวิทยานิพนธ์ มากขึ้น แต่ทั้งนี้ อาจเข้าข่ายคัดลอกหรือขโมยผลงานวิชาการ (plagiarism) หากใช้ไม่ถูกวิธี ผู้ใช้งานควรใช้งานโดยตระหนักถึงความรับผิดชอบและจริยธรรมด้วย ผู้ใช้ ChatGPT ต้องไม่ลืมให้การอ้างอิงที่ถูกต้องและเหมาะสม เพราะข้อความที่สร้างโดย ChatGPT จะถูกดึงมาจากหลากหลายแหล่ง

จากการเข้าร่วมอบรมหลักสูตร "เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารนานาชาติ" ผ่านระบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ 2567 ในการอบรมครั้งนี้ วิทยากรคือ รองศาสตราจารย์ ดร.โยธิน แสวงดี ท่านได้สอนวิธีการใช้ ChatGPT ให้เป็นผู้ช่วยคิดในการทำงานวิจัย การเขียนบทความวิจัย การทำPowerPoint เพื่อนำเสนองาน โดย ChatGPTที่ใช้เป็นเวอร์ชั่น 3.5 สามารถดาวน์โหลดฟรีจากเว็บไซต์ https://chat.openai.com ซึ่ง Chat GPT สามารถสร้างประเด็นคำถามได้ทั้งภาษาอังกฤษ และ ภาษาไทย แต่ภาษาอังกฤษจะทำงานได้สะดวกกว่า วิทยากรสาธิตการใช้งาน ChatGPT โดยใช้โจทย์คำถามจากผู้เข้าร่วมอบรมและให้ผู้เข้าร่วมอบรมฝึกปฏิบัติตาม  แต่ทั้งนี้ก็ต้องระมัดระวังในเรื่องคำแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย รวมทั้ง ผู้ใช้งานควรใช้งานโดยตระหนักถึงความรับผิดชอบและจริยธรรมด้วย ผู้ใช้ ChatGPT ต้องไม่ลืมให้การอ้างอิงที่ถูกต้องและเหมาะสม เพราะข้อความที่สร้างโดย ChatGPT จะถูกดึงมาจากหลากหลายแหล่ง  อาจเข้าข่ายการคัดลอกหรือขโมยผลงานวิชาการ (plagiarism) หากใช้ไม่ถูกวิธี ควรกลั่นกรองภาษา และการอ้างอิง ก่อนการส่งวารสารเพื่อการตีพิมพ์ รวมทั้งรูปแบบต้องพิมพ์ตามรูปแบบที่วารสารกำหนด ป้องกันการปฎิเสธจากวารสารที่ส่งไป ในการเตรียมตัวเขียนบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ควรหาวารสารที่ต้องการเผยแพร่ก่อน ว่าวารสารที่ต้องการเผยแพร่เป็นระดับใด ระดับชาติ หรือ ระดับนานาชาติ 3-4 วารสาร วิทยากรกล่าวว่าในปัจจุบันภาษาอังกฤษไม่ได้เป็นปัญหาในการส่งบทความวิจัยเผยแพร่ในระดับนานาชาติ นอกจากนี้ ต้องหาวารสารที่ตรงกับสาขาวิชาที่ขอตำแหน่งทางวิชาการ เบื้องต้นไปค้นในกูเกิ้ลเสิร์ช โดยใช้คำค้นเช่น Journal suggester, Journal finder, SCIMACO  Journal Rank วารสารที่มีระดับ Quartile1 จะมีค่าธรรมเนียมในการเผยแพร่สูงมากประมาณ 3,000-4,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา วิทยากรได้บรรยายการเขียนแผนที่บทความว่าในการเตรียมต้นฉบับ โดยปกติหากบทความวิจัยกำหนดไว้ 12 หน้า หน้าที่ 12 จะเป็นหน้าของเอกสารอ้างอิง หน้า 11 เขียนสรุปผล หน้าที่ 10 จะเป็นการอภิปรายผล หน้าที่ 5- 9 เขียนผลการวิเคราะห์ข้อมูล หน้า3- 4 เขียนข้อมูลและวิธีดำเนินการวิจัย และหน้า1-2 เขียนบทนำ โดยแนวคิดทฤษฎีไปรวมไว้ในบทนำ การใช้คำศัพท์เฉพาะทางควรใช้คำศัพท์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ในปัจจุบันการเขียนบทความวิจัยจะให้ความสำคัญกับผลการวิเคราะห์ สรุปและอภิปรายผล มากกว่าแนวคิดทฤษฎี สำหรับเอกสารอ้างอิง ในวารสารที่มีระดับ Quartile มักจะไม่ยอมรับเอกสารอ้างอิงที่มาจากเว็บไซต์ เนื่องจากเมื่อย้อนกลับไปดูแล้วไม่พบ เมื่อเขียนบทความวิจัยเรียบร้อยแล้วควรนำไปตรวจความซ้ำซ้อนของเนื้อหาด้วยเช่น Turnitin หรือ อักขราวิสุทธิ์ แต่หากไปตรวจความซ้ำซ้อนแล้วเป็น 0% ก็ไม่ดีเพราะไม่มีความเป็นวิชาการ เนื่องจากต้องมีการอ้างอิงแนวคิดทฤษฎีที่สำคัญ  ในการอ้างอิงเอกสาร 1 เอกสารควรใช้อ้างอิงเพียงครั้งเดียว หากมีคำย่อต้องใช้คำย่อตามหลักวิชาการ สำหรับบทความภาษาอังกฤษการใช้ Tense นั้นเป็นลักษณะ 1 ย่อหน้า 1 ประเด็น 1 Tense ในการเลือกเอกสารอ้างอิงควรเลือกเอกสารที่ทันสมัยและมีผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงในสาขานั้น ๆ นอกเหนือจากประเด็นต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว วิทยากรยังได้กล่าวถึงสิ่งที่วงวิชาการควรตระหนัก อาทิ การเป็นต้นฉบับที่ถูกต้อง การเป็นผลงานวิจัยที่ใหม่ รวมถึงการละเมิดจริยธรรมงานวิจัย และงานวิชาการ ผู้สนใจสามารถศึกษาข้อควรระวังในการใช้ ChatGPT ได้จาก https://www.thailibrary.in.th/2023/08/09/chatgpt-is-it-plagiarism/

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1425
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร » Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร
Data Science หรือ วิทยาการข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ โดยครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บข้อมูล (Collect) การจัดการข้อมูล (Manage) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyze) ไปจนถึงขั้นตอนการนำข้อมูลมาช...
Data Science  วิทยาการข้อมูล     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 24/4/2567 13:27:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/4/2567 15:52:46   เปิดอ่าน 17  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดย...
ChatGPT  การประชุมวิชาการ  เทคโนโลยี  วิทยาศาสตร์  สิ่งแวดล้อม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 11/4/2567 15:19:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/4/2567 16:30:02   เปิดอ่าน 32  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิริพร สมุทรวชิรวงษ์  วันที่เขียน 2/4/2567 16:14:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/4/2567 17:27:49   เปิดอ่าน 53  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง