สถิติสำหรับงานวิเคราะห์ทดสอบ
วันที่เขียน 9/5/2566 10:46:14     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 18:57:43
เปิดอ่าน: 2373 ครั้ง

สถิติเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ทดสอบข้อมูล และเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะในห้องปฏิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์จำเป็นต้องมีความถูกต้อง และเหมาะสมกับข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

สถิติที่ใช้ในงานวิเคราะห์ทดสอบและวิจัย ประกอบไปด้วยหัวข้อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. ค่าสถิติและการหาค่าสถิติ ระดับความเชื่อมั่น (Confidence Level) การแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่ม และการทดสอบสมมติฐานทางสถิติ 

    เป็นการหาค่าสถิติ และระดับความเชื่อมั่นในการทดสอบ ประมาณค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ที่เราสนใจ รวมทั้งการแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่ม เพื่อที่เราจะได้เลือกใช้สถิติ

ให้มีความถูกต้อง และเหมาะสมกับข้อมูล หรือการแจกแจงของข้อมูล เพื่อให้ผลการทดสอบมีความถูกต้อง และมีความน่าเชื่อถือ

 

2. การทดสอบ outlier การทดสอบแบบที (t - test) และการทดสอบแบบเอฟ (F-test)

    เป็นการทดสอบค่านอกเกณฑ์ (outlier) เพื่อทดสอบดูค่าที่ไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ รวมทั้งการทดสอบแบบที และแบบเอฟ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของการทดสอบ

ให้สอดคล้องกับพารามิเตอร์ที่เราทำการทดสอบ 

 

3. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเส้น (Regression correlation) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA)

    เป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูลที่สัมพันธ์กันในรูปแบบเชิงเส้น และการวิเคราะห์ความแปรปรวน เพื่อทำการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยของประชากรที่มากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป พร้อม ๆ กัน

 

4. การฝึกปฏิบัติโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ และทดสอบข้อมูล

    เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป MS-Excel เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติที่ได้กล่าวมาแล้ว มาทำการวิเคราะห์

 

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศ
การเขียนบทความทางวิชาการเพื่อให้ได้ตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับบุคลากรสายวิชาาร เนื่องจากหลังจากที่ทำการศึกษา วิจัย ค้นคว้า ทดลองสิ่งใหม่ ๆ ๆได้แล...
Chat GPT  บทความวิชาการ  วารสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 4/3/2567 10:52:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 1:29:15   เปิดอ่าน 61  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการติดตามบุคคลากรคณะวิทยาศาสตร์ที่ครบกำหนดในการดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น กิจกรรมที่ 1 การสร้างความรู้เกี่ยวกับการขอตำแหน่งทางวิชาการ
โครงการติดตามบุคคลากรคณะวิทยาศาสตร์ที่ครบกำหนดในการดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น กิจกรรมที่ 1 การสร้างความรู้เกี่ยวกับการขอตำแหน่งทางวิชาการ ในวันที่ 24 มกราคม 2567 เวลา 08.30 - 15.00 น. ณ ห้องประชุม 2 อาค...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 23/2/2567 23:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/3/2567 22:32:54   เปิดอ่าน 61  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง