อิทธิพลของสื่อต่อการตระหนักรู้ข้อมูลข่าวสาร
วันที่เขียน 10/2/2566 14:57:28     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 12:39:46
เปิดอ่าน: 630 ครั้ง

ในปัจจุบันมีผู้เข้าถึงสื่อสังคมดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว การบอกต่อข้อมูลที่เป็นเท็จให้คนใกล้เคียง เช่น ข้อมูลในไลน์ที่แชร์กันไปเรื่อย ๆ ซี่งเป็นข้อมูลที่ไม่รู้แหล่งที่มา แต่ผู้รับสื่อหลงเชื่อได้อย่างง่ายดาย โดยขาดความตระหนักที่จะหาข้อมูล หรือข้อเท็จจริง แต่กลับส่งต่อให้ผู้อื่น ดังนั้นผู้รับสื่อควรมีความตระหนัก และหาข้อมูลเท็จจริงก่อนที่จะหลงเชื่อหรือส่งต่อให้ผู้อื่น

          จุดมุ่งหมายของการให้ความรู้ในหัวข้อเรื่อง ASEAN DIGITAL LITERACY PROGRAMME เพื่อลดผลกระทบในเชิงลบของข้อมูลที่บิดเบือน ในประเทศสมาชิกอาเซียน  และสร้างภูมิคุ้มกันต่อข้อมูลบิดเบือน  และข้อมูลเท็จให้แก่ชุมชนในภูมิภาค

          ในปัจจุบันมีผู้เข้าถึงสื่อสังคมดิจิทัลอย่างมากมาย  การบอกต่อข้อมูลที่เป็นเท็จให้คนใกล้เคียง เช่น ข้อมูลในไลน์ที่แชร์กันไปเรื่อย ๆ ซี่งเป็นข้อมูลที่บิดเบือน  ตัวอย่างการส่งต่อข้อมูลวัคซีนโควิดที่ส่งผลข้างเคียงต่อร่างกาย  ทำให้ประชาชนที่ได้รับรู้ข่าวสารไม่ไปฉีดวัคซีน 

          ในการอบรมได้รับชมวิดิโอที่ชุมชนเล็ก ๆ ได้จัดปาร์ตี้โดยให้นำสุนัขมาร่วมงานได้  ผู้เข้าร่วมที่มาก่อนเวลาได้นำสุนัขมากินอาหารร่วมกัน  และเล่นด้วยกัน  ต่อมามีผู้มาเข้าร่วมคนหนึ่งมาเคาะประตูบ้าน  เจ้าของบ้านเปิดประตูต้อนรับ  แต่เหลือบเห็นว่าสุนัขที่นำมาด้วยเป็นพันธุ์ไซบีเรียนฮัสกีของรัสเซีย  เจ้าของบ้านจึงปฏิเสธไม่ให้เข้าร่วมงาน  เจ้าของจึงพาสุนัขตัวดังกล่าวกลับบ้าน  แต่สุนัขตัวอื่นที่อยู่ในบ้านเห็นว่า  เพื่อนกำลังจะกลับบ้าน  ไม่ได้เข้ามาร่วมงานด้วยจึงพากันออกมาทางหน้าต่างแล้วชักชวนเพื่อนสุนัขด้วยกัน  ให้เข้ามาในบ้าน  จากการชมวิดิโอทำให้ตนเองมีความรู้สึกเห็นใจประชาชนชาวรัสเซียที่ไม่ได้มีส่วนร่วม รู้เห็นในการก่อสงคราม  แต่ถูกสังคมโลกตีตรา เกลียดชัง คว่ำบาตรไม่ให้เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมอีกต่อไป 

          วิดิโอเรื่องที่สอง เป็นเรื่องของประเทศจีน  ที่พยายามเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเชื่อไวรัสโคโลน่า 19 ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรงต่อระบบทางเดินหายใจ  ปอด  แสดงให้เห็นอาการเมื่อติดเชื้อ  และการป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ  แต่องค์การอนามัยโลก  ภายใต้การควมคุมของสหรัฐอเมริกาออกมาชี้นำความคิดประชากรโลก  ว่าจุดเริ่มต้นของเชื้อไวรัสโคโลน่า 19 เริ่มจากชุมชนอู่ฮั่น  และส่งนักวิทยาศาสตร์มาสำรวจ เก็บตัวอย่างไปทดสอบ  แต่ไม่ปรากฏผล  หรือเผยแพร่ผลการทดสอบ  ทำให้ประชากรโลกเข้าใจโดยปริยายว่า จุดกำเนิดของเชื้อไวรัส

 

 

          โคโลน่าไวรัส 19 เกิดจากชุมชนอู่ฮั่น  ทั้งนี้วิดิโอนี้สร้างจากประเทศจีน ซึ่งอาจจะเป็นการชี้นำความคิดให้เข้าใจว่า  รัฐบาลจีนถูกรัฐบาลสหรัฐอเมริกากล่าวหาว่า จุดกำเนิดของเชื้อไวรัสเกิดขึ้นในประเทศจีน

          จากวิดิโอทั้ง 2 เรื่องเป็นการนำเสนอความขัดแย้งของผู้นำ 2 ประเทศ  เมื่อผู้ชมได้รับชมหากไม่มีการใคร่ครวญตริตรอง  ทำให้ผู้ชมรู้สึกเข้าข้างประเทศใดประเทศหนึ่ง  หากผู้ชมส่งต่อวิดิโอดังกล่าวให้แก่คนใกล้ชิด  อาจจะตกเป็นเครื่องมือของประเทศผู้ผลิตสื่อได้  ดังนั้นผู้ชมควรหาความรู้  ข้อมูลข่าวสารให้มากขึ้น 

          ในทางข้อมูลทางสถิติการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของประชากรโลกทั้งหมด 8,000 กว่าล้านคนนั้น  4.74 ล้านคนอยู่ในสื่อสังคมออนไลน์เป็นเวลา 2 ชั่วโมงต่อวัน  ในจำนวนนี้คิดเป็นร้อยละ 46 เป็นผู้หญิง  และร้อยละ 54 เป็นผู้ชาย  โดยวัตถุประสงค์ของการใช้งานเป็นไปอย่างหลากหลาย  โดยแพลตฟอร์มที่มีการใช้งานมากที่สุดได้แก่ Facebook Youtube Whatsapp Instagram Tiktok ตามลำดับ  ประชาชนชาวไทยมีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ 8 ชั่วโมงต่อวัน  จัดลำดับเป็นลำดับที่ 7 ของประเทศทั้งหมดในโลก

          หากย้อนกลับไปประมาณ 20 ปี  การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในรูปแบบดั้งเดิม  ได้แก่ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ เป็นต้น  สื่อต่าง ๆ เหล่านี้ก่อนที่จะเผยแพร่ต้องมีการกรองเนื้อหาโดยกองบรรณาธิการที่มีความรู้ความสามารถในการผลิตสื่อ  แต่ในปัจจุบันประชากรทุกคนที่อยู่ในโลกสังคมออนไลน์  สามารถผลิตเนื้อหาได้อย่างหลากหลาย  เปิดกว้างและรวดเร็วมากขึ้น  หากพิจารณาให้ดีจะเห็นว่า  ขั้นตอนของการกรองเนื้อหาถูกผิดได้หายไป  ผู้ผลิดสื่อส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ทางการสื่อสารมวลชน  ไม่ได้รับการอบรม  ไม่คำนึงถึงศีลธรรม จริยธรรม  ซึ่งเป็นผลการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยีที่มีทั้งข้อดี ข้อเสีย  ดังนั้นผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ควรมีความตระหนักในการผลิตเนื้อหา  นอกจากการคำนึงถึงความถูกต้องของเนื้อหาแล้ว  ยังควรคำนึงถึงศีลธรรมและจริยธรรมที่อาจส่งผลกระทบแก่ผู้อื่น

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1325
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดย...
ChatGPT  การประชุมวิชาการ  เทคโนโลยี  วิทยาศาสตร์  สิ่งแวดล้อม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 11/4/2567 15:19:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 10:48:02   เปิดอ่าน 19  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิริพร สมุทรวชิรวงษ์  วันที่เขียน 2/4/2567 16:14:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 10:47:48   เปิดอ่าน 39  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศ
การเขียนบทความทางวิชาการเพื่อให้ได้ตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับบุคลากรสายวิชาาร เนื่องจากหลังจากที่ทำการศึกษา วิจัย ค้นคว้า ทดลองสิ่งใหม่ ๆ ๆได้แล...
Chat GPT  บทความวิชาการ  วารสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 4/3/2567 10:52:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 10:47:07   เปิดอ่าน 75  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง