การประเมินค่างานของบุคลากรสายสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ
วันที่เขียน 9/12/2564 15:08:19     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 8:27:18
เปิดอ่าน: 1198 ครั้ง

การประเมินค่างานของบุคลากรสายสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ

 การประเมินค่างานของบุคลากรสายสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ

     การกำหนดกรอบตำแหน่ง เป็นการกำหนดตำแหน่งและจำนวนตำแหน่งที่พึงมีในแต่ละหน่วยงาน ที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงาน ดังนี้ (1)ต้องเป็นตำแหน่งที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ซึ่งคำนึงถึงลักษณะงานที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง, ระดับความรับผิดชอบต่องานในด้านการตัดสินใจ ด้านการบังคับบัญชา ด้านความอิสระในการปฏิบัติงานรวมถึงด้านผลกระทบต่างๆของงาน, ระดับความยากง่ายของงานคือเป็นคุณภาพของงานที่พิจารณาจากความรู้ ประสบการณ์ แนวทางในการทำงาน ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความยุ่งยากซับซ้อนของงาน และความหลากหลายของงาน

(2)ไม่มีผลให้มีการเพิ่มงบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้าง

(3)ไม่มีผลทำให้อัตรากำลังเพิ่มขึ้น

(4)ต้องคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพ ความไม่ซ้ำซ้อนและความประหยัด เพื่อให้สามารถกำหนดกรอบตำแหน่งได้อย่างถูกต้อง เป็นธรรม และสอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงาน


     การวิเคราะห์งาน Job Analysis เป็นการศึกษาลักษณะงาน ขอบเขต หน้าที่ ความรับผิดชอบ ซึ่งประกอบด้วย 

1)การวิเคราะห์โครงสร้าง ภารกิจ ความสัมพันธ์ของตำแหน่ง

๒)การวิเคราะห์ลักษณะงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ เป็นการวิเคราะห์กระบวนการทำงาน ขั้นตอนและวิธีการทำงาน ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

๓)วิเคราะห์คุณภาพและความยุ่งยากซับซ้อนของงาน เช่นระดับความรับผิดชอบ ระดับการตัดสินใจ ระดับของผลกระทบ ระดับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในงาน ซึ่งเป็นการพิจารณาจาดผลการปฏิบัติงานจริง ได้แก่หน้าที่ความรับผิดชอบ/ขอบเขตของงานตามตำแหน่ง และคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ามาปฏิบัติงานในตำแหน่ง เป็นต้น


     การประเมินค่างาน Job Evaluation เป็นเทคนิคหรือวิธีการที่ใช้ในการกำหนดตำแหน่งที่มีความยากง่าย/คุณภาพต่างๆ และอัตราการจ่ายค่าตอบแทนสำหรับผู้ปฏิบัติงาน “ไม่ใช่ประเมินตัวบุคคล และ ไม่ใช่วัดเชิงปริมาณงาน” เพื่อให้หน่วยงานสามารถกำหนดโครงสร้างได้อย่างเป็นระบบ มีความสมเหตุสมผล มีมาตรฐานและเป็นธรร

  • หลักเกณฑ์การประเมินค่างาน Get Started เป็นการประเมินที่ต้องคำนึงถึง 5 ข้อ
    1.วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ขององค์กร
    2.หลักเกณฑ์การประเมินค่างาน
    3.มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
    4.ภาระงานของตำแหน่ง
    5.แบบประเมินค่างาน
  • หลักเกณฑ์การประเมินค่างานสำหรับระดับชำนาญงาน ชำนาญงานพิเศษ ชำนาญการ และชำนาญการพิเศษ มีองค์ประกอบดังนี้
    1.หน้าที่ความรับผิดชอบ (30คะแนน)
    2.ความยุ่งยากของงาน (30คะแนน)
    3.การกำกับตรวจสอบ (20คะแนน)
    4.การตัดสินใจ (20คะแนน)
    *ระดับชำนาญการ ต้องได้ 64 คะแนนขึ้นไป **ระดับชำนาญการพิเศษ ต้องได้ 84 คะแนนขึ้นไป
  • หลักเกณฑ์การประเมินค่างานสำหรับระดับเชี่ยวชาญ และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ มีองค์ประกอบดังนี้
    1.ด้านความรู้และความชำนาญงาน (20คะแนน)
    2.ด้านการบริหารจัดการ (20คะแนน)
    3.ด้านการติดต่อสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ (20คะแนน)
    4.ด้านกรอบแนวคิดในการแก้ปัญหา (20คะแนน)
    5.ด้านอิสระในการคิด (20คะแนน)
    6.ด้านความท้าทายในการแก้ปัญหา (20คะแนน)
    7.ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล (20คะแนน)
    8.ด้านอิสรภาพในการปฏิบัติงาน (20คะแนน)
    9.ด้านผลกระทบจากการปฏิบัติงาน (20คะแนน)
    10.ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติของตำแหน่ง (20คะแนน)
    รวม 300 คะแนน
    *ระดับเชี่ยวชาญ ต้องได้ 170 คะแนนขึ้นไป **ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ต้องได้ 235 คะแนนขึ้นไป

     เทคนิคการเขียนประเมินค่างาน มีคำสำคัญในการเขียนประเมินค่างาน ได้แก่ ความยาก(ของงาน), ความยุ่งยากซับซ้อน(ของงาน), ความหลากหลาย(ของงาน), การควบคุม, การกำกับ, ตรวจสอบ และคุณภาพ เป็นต้น ซึ่งมีตัวอย่างแบบฟอร์มดังภาพ หรือสามารถติดต่อสอบถามผู้บรรยาย คุณปัทมา จักษุรัตน์ ได้ที่ 089-555666-1 หรือ jaksurat.p@gmail.com

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1248
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สรุปรายงานจากการอบรม » การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการอ่านลำดับสายยาวด้วย oxford nanopore sequencing
ทคโนโลยี nanopore เป็นเทคโนโลยีการหาลำดับ DNA และ RNA แบบสายยาวต่อเนื่อง โดยไม่ต้องใช้กระบวนการสังเคราะห์ DNA ต้นแบบ ไม่ทำต้องปฏิกิริยา PCR จึงทำให้การวิเคราะห์ลำเบสต่างๆมีความแม่นยำ รวดเร็ว และประ...
DNA sequencing, nanopore technology     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน วริศรา สุวรรณ  วันที่เขียน 17/4/2567 14:00:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 16:13:45   เปิดอ่าน 6  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
พัฒนาตนเอง-นงคราญ » “การผลิตคราฟต์เบียร์ ขนาด 20 ลิตร"
จากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร “อุดมคติ On Tour" เรื่องหัวข้อ “การผลิตคราฟต์เบียร์ ขนาด 20 ลิตร วันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 ได้รับความรู้เกี่ยวกับการผลิตคราฟต์เบียร์ ...
กลุ่มงานช่วยวิชาการ  การผลิตคราฟต์เบียร์  เบียร์ (ฺBeer)  พัฒนาตนเอง  อบรม  อบรมเชิงปฏิบัติการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน นงคราญ พงศ์ตระกุล  วันที่เขียน 9/1/2567 14:47:56  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 8:27:06   เปิดอ่าน 652  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การประชุมวิชาการระดับชาติ » งานประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2566 เรื่อง นวัตกรรมเกษตรอาหาร และสุขภาพ
จากการได้เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติซึ่งการจัดการประชุมเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษา วิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตร อาหาร สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร  วันที่เขียน 4/1/2567 14:54:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/4/2567 7:46:27   เปิดอ่าน 126  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง