เทคโนโลยีพลังงาน
วันที่เขียน 3/10/2564 15:14:26     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 16:21:44
เปิดอ่าน: 1478 ครั้ง

จากเข้าร่วมการประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติ “Weinheim Symposium on Energy Technology” เมื่อวันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.00-18.00 น. และวันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.00-18.00 น. ผ่านระบบสื่อสารทางไกลนั้น มีบรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญ ในหัวข้อ

1: Batteries & electrochemical energy storage (A)

2: Chemical & thermal energy storage

3: Batteries & electrochemical energy storage (B)

4: Photovoltaics & solar energy

แบตเตอรี่มีความต้องการจากอุตสาหกรรมไฟฟ้า เครื่องยนต์และอื่นๆ มากขึ้นทุกปี และมีแนวโน้มการใช้แบตเตอรี่เป็นจำนวนมาก จากวันนี้เป็นต้นไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับมือถือ ยานหนะไฟฟ้า วัสดุเก็บพลังงาน รวมทั้งหุ่นยนต์และโดรน ที่จำเป็นต้องแบตเตอรี่เป็นส่วนหนึ่ง จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาวัสดุที่สามารถผลิตแบตเตอรี่และเก็บประจุไฟฟ้าได้สูง และยังต้องสามารถชาร์จไฟได้หลายรอบ มีน้ำหนักเบา ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม การวิจัยจึงมีการผลิตและพัฒนาวัสดุสำหรับผลิตแบตเตอรี่ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้

วัสดุสำหรับผลิตแบตเตอรี่ที่น่าสนใจในการประชุมครั้งนี้ ได้แก่

  1. คอมโพสิทโดยใช้สารตั้งต้นจากคาร์บอนรูพรุนที่มีการผสมแบบกายภาพกับสารเฉพาะ เช่น ZTC ในอัตราส่วนต่างๆ จากนั้นนำมาทำให้แห้งทั้งแบบเร็วและแบบช้า และเผาไล่คาร์บอนที่อุณหภูมิมากกว่า 550 องศาเซลเซียส
  2. การสังเคราะห์วัสดุแอโนดสำหรับลิเทียมไอออนแบบเตอรี่ โดยใช้อัลลอยด์และนำมาทำปฏิกิริยากับลิเทียม ได้ LiZn ที่มีค่าความจุสูง รอบการใช้มีความเสถียรทางไฟฟ้า และเกิดการหลุด-เข้าของลิเทียมอย่างรวดเร็ว

ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน

  1. ได้รับความรู้และการนำวัสดุอนินทรีย์และอินทรีย์ที่สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุตั้งต้นในการเตรียมแบตเตอรี่
  2. ได้รับความรู้ด้านนวัตกรรมการผลิตวัสดุนำไฟฟ้า
  3. นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการสอนและพัฒนางานวิจัยด้านการสังเคราะห์สารที่ใช้ในการเตรียมวัสดุที่มีสมบัติการนำไฟฟ้า (supercapacitors) สมบัติทางไฟฟ้าของสารประกอบอนินทรีย์

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1231
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
ผลงานวิจัย » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการฯ
ในการเขียนบทความ ควรเริ่มจากการทำแผนที่บทความเพื่อแบ่งสัดส่วนของหัวข้อของบทความข้างต้นตามเกณฑ์วารสารที่กำหนดจะทำให้การเขียนง่ายขึ้น สามารถใช้ ChatGPT ช่วยในการเขียนตามหัวข้อที่กำหนดได้ง่ายขึ้น
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน หนึ่งหทัย ชัยอาภร  วันที่เขียน 4/3/2567 10:46:23  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 14:48:45   เปิดอ่าน 118  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง