เครื่อง Thermogravimetric Analysis (TGA)
วันที่เขียน 1/10/2564 15:30:41     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 22:54:09
เปิดอ่าน: 12925 ครั้ง

Material Thermal Characterization

เครื่อง Thermogravimetric Analysis (TGA)

  เครื่อง Thermogravimetric Analysis (TGA)

  1. หลักการทำงาน เครื่อง Thermogravimetric Analysis (TGA)

TGA เป็นเครื่องที่ใช้วิเคราะห์ความเสถียรของวัสดุ ได้แก่ พอลิเมอร์ เซรามิก จะนิยมใช้ในการวิเคราะห์ความเสถียรของพอลิเมอร์ เมื่อสารตัวอย่างในรูปของแข็งได้รับความร้อน จะทำการวัดน้ำหนักของวัสดุที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงอุณหภูมิด้วยเครื่องชั่งที่มีความไวสูง เครื่องนี้ใช้วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงสภาพของสารตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับการดูดซับก๊าซ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ หรือการระเหยของน้ำ หรือการที่มีโมเลกุลของน้ำอยู่ในโมเลกุล การแตกตัวของวัสดุ หรือการตกผลึกที่เกิดจาการเปลี่ยนเฟส

สารตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์จะถูกวางไว้บนจาน...ขนาดเล็กที่เชื่อมกับเครื่องชั่งที่มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักสูง สิ่งเหล่านี้จะอยู่ในเตาที่ควบคุมอุณหภูมิและบรรยากาศได้ เช่น บรรยากาศออกซิเดชัน เช่น อากาศหรือออกซิเจน หากอยู่ในบรรยากาศรีดักชัน ซึ่งอาจจะเป็นก๊าซเฉื่อยเช่น ไนโตรเจน เมื่อสารตัวอยางไดรับความรอนที่เปลี่ยนแปลงไป จะเกิดสัญญาณการวัดที่สามารถแสดงผลในรูปแบบการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิต่อน้ำหนัก (TG) โดยน้ำหนักของสารตัวอย่างที่เปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นที่อุณหภูมิเฉพาะของสารแต่ละชนิด น้ำหนักของสารตัวอย่างที่หายไปเกิดมาจากการระเหย การสลาย หรือการเกิดปฏิกิริยา

 

  1. ข้อดี-ข้อเสียของเครื่องมือวิเคราะห์ทางความร้อน TGA

ข้อดี

- ใช้ง่าย

- ใช้วิเคราะห์เชิงปริมาณได้

- มีความว่องไวสูง

- ใช้กับสารตัวอย่างโมเลกุลสูงได้

ข้อเสีย

- สารตัวอย่างถูกทำลาย ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก

- ไม่ได้วิเคราะห์ในรูปแบบลายมือเฉพาะ

- ใช้เวลาในการวิเคราะห์ 

  1. การประยุกต์กับสารตัวอย่าง

- สารอินทรีย์ พอลิเมอร์

- ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

- เภสัช

- วัสดุอนินทรีย์

- เซรามิกส์

- โลหะ

 

 

 

 

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1229
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
ถ่านชีวภาพ » การวิเคราะห์สมบัติของถ่านชีวภาพตามมาตรฐาน
ถ่านชีวภาพที่ผลิตได้จะมีสมบัติแตกต่างกันตามกระบวนการและวัสดุที่ใช้ในการผลิต หากจะนำมาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะการนำมากับการทำเกษตร พืชก็มีความต้องการสมบัติของ ดิน น้ำ ถ่านชีวภาพที่มีความเหมาะสมกับชนิดแล...
ถ่านชีวภาพ มาตรฐาน การวิเคราะห์     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
ผู้เขียน ธนศิษฏ์ วงศ์ศิริอำนวย  วันที่เขียน 17/3/2565 14:57:05  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 16:48:54   เปิดอ่าน 1625  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ถ่านชีวภาพ » การลดปริมาณ PAHs ด้วยถ่านชีวภาพในผลผลิตเกษตร
ในผลผลิตเกษตรมีการปนเปื้อน PAHs จากในดินและในอากาศ แนวทางหนึ่งในการลด PAHs มีการนำถ่านชีวภาพมาใช้ผสมในดินเพื่อช่วยลด PAHs จากในดิน ทั้งนี้การผลิตถ่านชีวภาพเองก็ทำให้เกิด PAHs ในถ่านชีวภาพอีกด้วย กา...
PAHs  ถ่านชีวภาพ  ผลผลิตเกษตร  สารก่อมะเร็ง  สารปนเปือน     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
ผู้เขียน ธนศิษฏ์ วงศ์ศิริอำนวย  วันที่เขียน 2/8/2564 9:34:06  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/4/2567 11:49:38   เปิดอ่าน 1613  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง