VR-AR โลกใบที่สองเพื่อการเรียนรู้
วันที่เขียน 17/5/2564 13:50:49     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 13:43:04
เปิดอ่าน: 1548 ครั้ง

ปัจจุบันเทคโนโลยีเสมือนจริง (Reality) มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสามารถนำมาใช้ด้านการเรียนการสอน การแพทย์ รวมถึงอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งการใช้งานเทคโนโลยีเสมือนจริง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานได้อย่างเห็นผลชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเรียนการสอนในปัจจุบันที่เหมาะสมกับ บุคคลเป้าหมายคือGen Z อายุ12-24 เขาจะมีลักษณะฉลาดมุ่งมั่นโลกของเขาปัจจุบันคือ เวลาสอนต้องใช้ข้อสอบแบบสั้นๆ Active learning activity และ Game-base learnดังนั้นอาจแบ่งเทคโนโลยีนี้ออกเป็น 3 อย่างคือ 1. ความเป็นจริงเสริม (augmented reality, AR) คือโลกจริงรวมกับวัตถุเสมือนเริ่มต้นมาจากธุรกิจเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริงเข้ากับโลกเสมือน (Virtual) โดยผ่านอุปกรณ์ทางด้านฮาร์ดแวร์และการใช้ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ทำให้สามารถมองเห็นภาพที่มีลักษณะแสดงผลในจอภาพกลายเป็นวัตถุ 3 มิติ ลอยอยู่เหนือพื้นผิวสร้างในรูปแบบ Interactive Media เทคโนโลยี AR นี้จะสามารถทำให้ผู้ใช้เห็นภาพเสมือนจริงได้รอบ 360 องศา โดยไม่จำเป็นจะต้องเดินทางไปสถานที่จริง ตัวอย่างของการใช้งานคือ เกม Pokemon Go และการจำลองสถานที่ Google Street View เป็นต้น 2.ความเป็นจริงเสมือน (virtual reality, VR) สสวท.ใช้แสดงสาธิตวิธีผ่ากบเป็นภาพสามมิติ ใช้หลักตาซ้ายและตาขวามองเห็นภาพไม่เหมือนกันสมองหลอกตาแต่เราใช้เทคโนโลยีหลอกสมอง 3. เทคโนโลยี Mixed Reality (MR) ที่สามารถแสดงผล 3 มิติ ได้ในพื้นที่จริงคล้ายกับภาพโฮโลแกรมจากภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ โดยนำเอาเทคโนโลยีเสมือนจริง (Reality) ที่นำเอาโลกแห่งความเป็นจริงและองค์ประกอบดิจิตอลมารวมกัน Mixed Reality จะทำให้มีการโต้ตอบกับสิ่งของและสภาพแวดล้อมทั้งในโลกแห่งความเป็นจริงและเสมือนโดยใช้เทคโนโลยีการสัมผัสและสร้างภาพยุคใหม่ MR ช่วยให้เราได้เห็นและสัมผัสกับโลกรอบตัว แม้ในขณะที่โต้ตอบกับสภาพแวดล้อมเสมือนด้วยมือของเราเองโดยที่ไม่ต้องถอดแว่น ตัวอย่างการใช้งาน MR เช่น ตัวอย่างเสมือนจริงที่จำลองสภาพแวดล้อมให้ลูกค้าได้สัมผัสบรรยากาศของโครงการที่พักอาศัยได้แบบอินเทอร์แอ็คทีฟ

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1161
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศ
การเขียนบทความทางวิชาการเพื่อให้ได้ตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับบุคลากรสายวิชาาร เนื่องจากหลังจากที่ทำการศึกษา วิจัย ค้นคว้า ทดลองสิ่งใหม่ ๆ ๆได้แล...
Chat GPT  บทความวิชาการ  วารสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 4/3/2567 10:52:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 1:29:15   เปิดอ่าน 61  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการติดตามบุคคลากรคณะวิทยาศาสตร์ที่ครบกำหนดในการดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น กิจกรรมที่ 1 การสร้างความรู้เกี่ยวกับการขอตำแหน่งทางวิชาการ
โครงการติดตามบุคคลากรคณะวิทยาศาสตร์ที่ครบกำหนดในการดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น กิจกรรมที่ 1 การสร้างความรู้เกี่ยวกับการขอตำแหน่งทางวิชาการ ในวันที่ 24 มกราคม 2567 เวลา 08.30 - 15.00 น. ณ ห้องประชุม 2 อาค...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 23/2/2567 23:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/3/2567 22:32:54   เปิดอ่าน 61  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง