#การตรวจยาฆ่าแมลงในเครื่องเทศด้วยเทคนิค GC-MS/MS
วันที่เขียน 7/5/2564 10:48:19     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 5:19:36
เปิดอ่าน: 3942 ครั้ง

การตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้าง หรือสารกำจัดศัตรูพืชหรือกำจัดแมลงต่าง ๆ หรือ pesticide ก็ต้องมีการสกัดที่เหมาะสม หลังจากที่เราสกัดออกมาแล้วด้วยความที่เป็นความ specific ของตัวเครื่องเทศ ในตัว matrix เค้าเองก็มีสารหลายอย่างมากมายเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น วันที่เราสกัดออกมาแล้ว จะเห็นว่าแต่ละชนิดจะมีความ Complex มาก เพราะฉะนั้นจะต้องเลือกวิธีการเตรียมตัวอย่างที่เหมาะสมที่สุด ก็จะเป็นประการแรกเลยที่เราจะต้องทำ

การตรวจยาฆ่าแมลงในเครื่องเทศด้วยเทคนิค GC-MS/MS

 

นางสาวรุ่งทิพย์ กาวารี

นักวิทยาศาสตร์

 

บางชนิดของเครื่องเทศอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของสมุนไพรไทย เช่น ขมิ้น ขิง ปัจจุบันได้นำเครื่องเทศมาเป็นส่วนหนึ่งของการประกอบอาหาร การผลิตเครื่องสำอาง และยารักษาโรค ดังนั้น เราจึงต้องมีการตรวจเช็คด้านความปลอดภัยทางอาหารด้วย เพราะว่าสุดท้ายทุกอย่างก็จะเข้าสู่ร่างกายเรา

ในส่วนของการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้าง หรือสารกำจัดศัตรูพืชหรือกำจัดแมลงต่าง ๆ หรือ pesticide ก็ต้องมีการสกัดที่เหมาะสม หลังจากที่เราสกัดออกมาแล้วด้วยความที่เป็นความ specific ของตัวเครื่องเทศ ในตัว matrix เค้าเองก็มีสารหลายอย่างมากมายเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น วันที่เราสกัดออกมาแล้ว จะเห็นว่าแต่ละชนิดจะมีความ Complex มาก เพราะฉะนั้นจะต้องเลือกวิธีการเตรียมตัวอย่างที่เหมาะสมที่สุด ก็จะเป็นประการแรกเลยที่เราจะต้องทำ

สำหรับ pesticide จะต้องตรวจวัดตัวไหนบ้าง ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ เช่นประเทศอินเดียจะตรวจวิเคราะห์เครื่องเทศทั้งนำเข้าและส่งออก ส่วนใหญ่ในเทคนิคของ GC ที่ตรวจบ่อยที่สุดคือ organophosphorus: OP, organochlorine: OC, pyrethroid แล้วก็ค่าลิมิตที่เราสามารถตรวจดีเทคได้ต่ำสุดเท่าไหร่ ตาม regulation ก็จะบอกไว้

วิธีการทำหรือวิธีการทดสอบของแต่ละห้องปฏิบัติการต้องทำการ method validation เพื่อที่จะเช็คว่า method ที่เราเลือกมาวิเคราะห์สารกำจัดศัตรูพืชเหล่านี้ได้รับมาตรฐานที่ดีและมีความถูกต้องและก็เชื่อถือได้ได้ผลที่ถูกต้องจริง ๆ โดยขั้นตอนของการทำ method validation ก็จะต้องมีการทดสอบ Precision, Accuracy, LOD, LOQ, Specificity, Linearity and range, Ruggedness, Robustness เพื่อให้ได้รับรองมาตรฐาน ISO 17025

สารพิษตกค้างหรือยาฆ่าแมลงที่ตรวจวิเคราะห์ด้วยเทคนิคดีเทคเตอร์ที่เป็น GC ทั่วไปได้ คือ organochlorine, pyrethroid จะตรวจด้วย µECD ส่วน organophosphorus จะตรวจด้วย FPD ดรเทคเตอร์ ECD สามารถตรวจ compound หรือ pesticide ที่มีส่วนประกอบของ Cl, Br หรือธาตุหมู่ 7 อยู่ใน structure ของ compound นั้นๆ ส่วนดีเทคเตอร์ FPD สามารถตรวจสารที่มี P หรือ S อยู่ใน structure ของ compound นั้น ๆ ได้ แต่ 2 เทคนิคนี้ตรวจได้แค่ในเชิงปริมาณเมื่อเทียบกับ calibration curve แต่ไม่สามารถที่จะตอบและยืนยันในเชิงคุณภาพได้ ถ้าพีคเกิดขึ้นตรงตำแหน่งของ standard เราจะไม่สามารถยืนยันได้ จึงทำให้การตรวจงาน pesticide ด้วยข้อจำกัดต่างๆ จึงเปลี่ยนมาใช้เทคนิค GC-MS triple Q (QQQ)

Gas chromatography Mass Spectrometry : QQQ เทคนิคนี้สามารถที่จะตรวจผลในเชิงปริมาณและคุณภาพได้ในทีเดียว รวมไปถึง regulation ต่างๆ สามารถตรวจ pesticide ได้ทั้งหมดโดยใช้แค่ดีเทคเตอร์ Mass-Mass มี Pesticide analyzer ในรูป hardware ที่ optimize ให้แล้ว และมี MRM database ที่อยู่กับเครื่อง มากกว่า 1000 compound ใน database นอกจากนี้ ยังมี database ของ Retention time locking (RTL) และมี Dynamic MRM  หรือ dMRM การออกผลใช้ MassHunter ออกผลได้เร็ว และง่าย

โดยทั้งหมดในส่วนของตัวเครื่องเทศเอง ตัว GC-QQQ ตอบโจทย์เราได้ สามารถวิเคราะห์ pesticide ได้มากกว่า 100 ชนิด สามารถที่จะตรวจวิเคราะห์ได้ในเชิงปริมาณที่ต่ำตาม regulation วิเคราะห์ได้เร็วขึ้น ออกผลได้ง่ายขึ้น

 

 

ที่มา: สรุปจากการเข้าร่วมงานสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ “แนวทางการเตรียมตัวอย่างสำหรับการวิจัยสมุนไพร” โดยใช้เทคนิค โครมาโทกราฟีเพื่อตรวจสอบสารปนเปื้อน รวมถึงการใช้เทคนิคสเปกโทรสโคปีเพื่อตรวจสอบสารโลหะหนัก เมื่อวันที่ 14, 21, 28 มกราคม 2564 ออนไลน์ผ่านระบบ WEBCAST โดยคุณธนัชชาพร เสมาทอง

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1159
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
พัฒนาตนเอง-นงคราญ » “การผลิตคราฟต์เบียร์ ขนาด 20 ลิตร"
จากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร “อุดมคติ On Tour" เรื่องหัวข้อ “การผลิตคราฟต์เบียร์ ขนาด 20 ลิตร วันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 ได้รับความรู้เกี่ยวกับการผลิตคราฟต์เบียร์ ...
กลุ่มงานช่วยวิชาการ  การผลิตคราฟต์เบียร์  เบียร์ (ฺBeer)  พัฒนาตนเอง  อบรม  อบรมเชิงปฏิบัติการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน นงคราญ พงศ์ตระกุล  วันที่เขียน 9/1/2567 14:47:56  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 23:07:36   เปิดอ่าน 498  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การประชุมวิชาการระดับชาติ » งานประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2566 เรื่อง นวัตกรรมเกษตรอาหาร และสุขภาพ
จากการได้เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติซึ่งการจัดการประชุมเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษา วิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตร อาหาร สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร  วันที่เขียน 4/1/2567 14:54:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/3/2567 11:37:34   เปิดอ่าน 108  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การทบทวนวรรณกรรมอย่างมีระบบ (Systematic Review) » การทบทวนวรรณกรรมอย่างมีระบบ (Systematic Review) โดยใช้ chat gpt เข้ามาช่วย
การทบทวนวรรณกรรมอย่างมีระบบ (Systematic Review) เป็นกระบวนการที่เรียบร้อยและเป็นระบบในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากงานวิจัยที่มีอยู่เพื่อสรุปข้อมูลและข้อสรุปที่มีค่าในสาขาวิชาต่าง ๆ การใช้ Chat GP...
Chat GPT Systematic Review     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน ศิรินภา อ้ายเสาร์  วันที่เขียน 26/9/2566 16:11:39  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 3:01:26   เปิดอ่าน 121  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง