รายงานสรุปเนื้อหาการนำเสนอประชุมวิชาการประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมซอต์แวร์ ครั้งที่ 17 :JCSSE2020
วันที่เขียน 21/12/2563 11:35:37     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 6:29:27
เปิดอ่าน: 1414 ครั้ง

Database System for Royal Thai Orchid Plantation in Chiang Mai Province เนื้อหาสำคัญคือ สวนกล้วยไม้ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ตั้งอยู่ที่ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ภายในสวนมีกล้วยไม้จำนวนมาก สายพันธุ์ หลากหลายและปลูกติดกันอย่างหนาแน่นบนกิ่งต้นมะม่วง ทำให้เกิดอุปสรรคต่อการจำแนกสายพันธุ์ ระบุตำแหน่ง รวมถึงการจัดทำฐานข้อมูล คณะผู้วิจัยจึงได้ทำการพัฒนาระบบฐานข้อมูลบัญชีกล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้พระราชทาน สำหรับจัดการสวนกล้วยไม้ไทย โดยระบบแบ่งออกเป็นสามส่วน คือ 1. สถานีตรวจวัดอากาศโดยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things) สำหรับการเก็บข้อมูลสภาพอากาศ ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น ความเร็วลม 2. ชุดเครื่องมือ Raspberry Pi สำหรับจัดการข้อมูลภายในสวนกล้วยไม้ ชนิดพกพา โดยใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) ได้ทำการติดตั้งบนต้นไม้ทั้งหมด 56 ต้น จำนวน 452 ตัว ซึ่งใช้เก็บข้อมูลลักษณะทางด้านกายภาพ 3. เว็บไซต์ในการจัดการฐานข้อมูลกล้วยไม้ สำหรับเจ้าหน้าที่โตรงการ โดยผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้งานระบบทั้งหมด 3 ส่วน จากผู้ใช้งาน ได้ผลคะแนนเฉลี่ยโดยรวมทั้งอยู่ที่ 4.08 คะแนนจาก 5 คะแนนเต็ม

ผลงานทางวิชาการ เรื่อง Database System for Royal Thai Orchid Plantation in Chiang Mai Province เมื่อวันที่ 4 – 6  พฤศจิกายน  2563 ผ่านช่องทางออนไลน์

1.ข้าพเจ้าได้นำเสนอผลงานภาคบรรยายเรื่อง เรื่อง Database System for Royal Thai Orchid Plantation in Chiang Mai Province

 

2.เข้าร่วมประชุมรับฟังการบรรยายของ Keynote Speaker Associate Prof.Dr. Chih-Lin Hu, National Central Univerity ในหัวข้อ Smart Home with Software Intelligence, IoT and AI" ซึ่งนำเสนอเกี่ยวกับเทคโนโลยี Smart Home ที่มีอยู่ในประเทศไต้หวัน รวมถึงแนวโน้มของการเติบโตของเทคโนโลยีดังกล่าวในอนาคต ซึ่งกำลังจะกล่าวเข้าสู่ยุค Smart Home 4.0 EdgeAI@Home

 

3.เข้าร่วมประชุมรับฟังการบรรยายของ Keynote Speaker Prof.Dr.David Abramson, University of Queensland ในหัวข้อ Data intensive infrastructure ซึ่ง ที่ University of Queensland มีระบบที่การจัดการข้อมูลชื่อว่า MeDiCI ซึ่งเป็นระบบที่ใช้งานบนศูนย์คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ห่างออกไปจากตัว Campus ประมาณ 30 กิโลเมตร แต่สามารถใช้งาน ทำงานวิจัย และการเรียนการสอน จากทั่วโลกได้ โดยการที่ทาง University of Queensland มีศูนย์คอมพิวเตอร์ในการจัดการด้านข้อมูล Big Data เป็นของตนเองนั้น สามารถควบคุมการใช้งาน ดูแลด้าน Network Security รวมถึงการ  Troubleshooting ปัญหาต่างๆ ได้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพ

 

4.เข้าร่วมประชุมรับฟังการบรรยายใน Session ด้าน IT and Security โดย Dr. Suphannee Sivakorn จาก Rajamangala University of Technology Tawan-ok ในหัวข้อ Web Encryption Analysis of Internet Banking Websites in Thailand ซึ่งได้แสดงผลการวิจัยในการ Audit ในการนำ https protocol ไปใช้งาน Internet Banking ของธนาคารในประเทศไทย ซึ่งผลการวิจัยพบว่ามีเพียงธนาคารเพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่ผ่านการ audit ในทุกหัวข้อ ทำให้เราตระหนักได้ว่า ในเรื่องของ Internet security นั้น ต้องมีการทดสอบให้ครบทุกด้านเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานของผู้ใช้ทุกคน

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1140
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ครบ 119 ปี เรื่อง “งานวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG Bio-Circular-Green Economy”
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ ได้อนุญาติให้ข้าพเจ้า นางอัจฉรา แกล้วกล้า ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน อัจฉรา แกล้วกล้า  วันที่เขียน 31/3/2567 11:09:58  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 5:02:39   เปิดอ่าน 40  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง