สวนโบโบลี (Boboli Gardens) แห่งเมืองฟลอเรนซ์
วันที่เขียน 17/9/2563 13:44:46     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 8:29:57
เปิดอ่าน: 2450 ครั้ง

บทความนี้ถูกแปลจากบางส่วนของหนังสือที่ชื่อ "Italian Villas and Their Gardens" เขียนโดย Edith Wharton เมื่อปี ค.ศ. 1905 ซึ่งเผยแพร่สู่สาธารณะ บทเว็บไซท์ The Project Gutenberg eBook ซึ่งอนญาตให้คัดลอก เผยแพร่ และดัดแปลงผลงานที่เผยแพร่นี้โดยไม่มีเงื่อนไข

สวนโบโบลี (Boboli Gardens) แห่งเมืองฟลอเรนซ์

By Edith Wharton 1905

แปลโดย ผศ.จรัสพิมพ์  บุญญานันต์


สถาปนิกชาวอิตาลีในยุคเก่าแบ่งกลุ่มบ้านในหมู่บ้านชนบทเป็นสองระดับ ได้แก่ บ้านชานเมือง (villa suburbana) หรือที่เรียกว่า บ้านสุขสราญ (maison de plaisance) ซึ่งอาจตั้งอยู่ภายในกำแพงเมือง หรือนอกกำแพงเมือง ล้อมรอบบริเวณด้วยพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ และถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยเพียงระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์ อีกประเภทหนึ่ง คือบ้านในชนบทซึ่งเป็นส่วนขยายของฟาร์มเก่าและโดยทั่วไปมักจะตั้งอยู่ห่างไกลออกไปนอกเมืองท่ามกลางทุ่งนาและไร่องุ่นซึ่งเป็นที่พักของสุภาพบุรุษในชนบทซึ่งอาศัยอยู่บนที่ดินของเขา สวนเพื่อความพักผ่อนหย่อนใจของอิตาลียังไม่ได้พัฒนาอย่างเต็มรูปแบบจนถึงกลางศตวรรษที่สิบหก และไม่ต้องสงสัยเลยว่าวิลล่าเก่าแก่ของชาวฟลอเรนซ์จำนวนมากกึ่งปราสาทและสวนกึ่งฟาร์มในศตวรรษที่สิบสี่ยังคงสภาพเดิมอย่างที่พวกเขาเห็นในปัจจุบันนี้ บนระเบียงเปล่าท่ามกลางเถาไม้เลื้อย มีกำแพงล้อมรอบพื้นที่ขนาดเล็กสำหรับปลูกสมุนไพรและผัก มีตัวอย่างของสวนในรูปแบบดังกล่าวที่สามารถพบได้ใกล้ๆเมืองฟลอเรนซ์

สวนพักผ่อนหย่อนใจแห่งทัสคานีที่มีความสำคัญที่สุด แต่อาจจะไม่เป็นที่นิยมมากที่สุดซึ่งตั้งอยู่ภายในกำแพงเมือง นั่นคือสวนโบโบลี (Boboli) ตั้งอยู่บนเนินสูงชันด้านหลังพระราชวังปิตตี (Pitti Palace) แผนผังของสวนโบโบลี ไม่เพียงแต่สวยงามในตัวเอง แต่น่าสนใจในฐานะหนึ่งในตัวอย่างที่หายากในทัสคานีของสวนยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ที่โครงสร้างหลักยังคงไม่ถูกรบกวน อีเลโอนอราแห่งตระกูลเมดิซี (Eleonora de 'Medici) เป็นผู้ซื้อพระราชวังปิตตี ในปี ค.ศ. 1549 หลังจากนั้นไม่นานก็ได้ครอบครองพื้นที่ใกล้เคียง สวนแห่งนี้ถูกออกแบบโดย อิล ทริโบโล (Il Tribolo) และออกแบบปรับปรุงต่อโดย บวนตาเลนติ (Buontalenti) และดำเนินการต่อเนื่องจนสำเร็จโดย บาร์โตโลมมีโอ แอมมานาติ (Bartolommeo Ammanati) ซึ่งเนื่องจากเป็นสวนของพระราชวัง. รูปแบบของสวนจึงควรค่าแก่การศึกษาอย่างละเอียดรอบคอบ แม้ว่ารูปลักษณ์ของสวนในปัจจุบันจะน่าประทับใจน้อยกว่าที่นักออกแบบตั้งใจไว้เดิมในหลาย ๆ ด้าน บางทีอาจจะเป็นเพราะขาดสนามโล่งที่งดงามและกว้าง ทำให้ขาดเสน่ห์ของสวนสไตล์อิตาลีเก่าแก่ขาดสนามโล่งที่มีความยิ่งใหญ่และมีขอบเขตเท่าในอดีต ความมีเสน่ห์ราวต้องมนต์นั้นน้อยกว่าเมื่อเปรียบกับสวนอิตาลีดั้งเดิม และไม่ต้องสงสัยเลยว่าเกิดจากข้อบกพร่องขององค์ประกอบซึ่งน้อยลง อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดของการปลูกพรรณไม้และการตกแต่งสวนในภายหลัง ถึงกระนั้นโครงสร้างหลักยังคงอยู่และเต็มไปด้วยข้อแนะนำดีๆสำหรับคนรักสวน

 

 

ภาพที่ 1  แผนผังสวนโบโบลี (Boboli Gardens) แห่งเมืองฟลอเรนซ์

ที่มา:  Sailko. 2006. File: Boboli pianta antica.jpg. [Internet]. [cited 2020 Sep 10] Wikimedia Commons. Source :  https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Boboli_pianta_antica.jpg

 

พระราชวังถูกสร้างขึ้นบนเนินเขาสูงชันซึ่งถูกปรับระดับเพื่อรองรับตัวอาคาร กำแพงกันดินสูงที่สร้างขึ้นห่างจากตัวอาคารส่วนกลางของอาคารมากพอที่จะให้ด้านหลังเปิดโล่งอย่างอิสระ ชั้นล่างของพระราชวังอยู่ต่ำกว่าพื้นดิน เมื่อมองจากหน้าต่างจะมองข้ามลานที่หน้ากำแพงกันดิน ซึ่งอัมมานาตีได้ตกแต่งด้วยองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่จำลองถึงอุโมงค์ ซึ่งมีน้ำพุหลั่งไหลออกมาราวกับว่าออกมาจากเนินเขา อุโมงค์แห่งนี้มีน้ำพุอันงดงามตั้งตระหง่านอยู่ในระดับเดียวกับหน้าต่างชั้นหนึ่งของพระราชวังและสวนโดยรอบ การจัดวางแสดงให้เห็นถึงความเฉลียวฉลาดในการเอาชนะความยากลำบากทางเทคนิค ผลที่เกิดจากการออกแบบสวนนั้น นับว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก แม้ว่าพื้นที่ซึ่งคล้ายคอร์ทนี้จะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างบ้านกับบริเวณโดยรอบอย่างน่าเสียดาย

 

ภาพที่ 2  มุมมองจากพระราชวังปิตตี ไปยังสวนโบโบลี (Boboli Gardens)

ที่มา :  Frantz, R. A. (2006). Boboli Garden seen from Palazzo Pitti, Florence. [Internet]. Wikimedia Commons. [cited 2020 Sep 10] https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Boboli-gardens-from-palazzo.jpg

 

 

ภาพที่ 3  ทางเข้าไปสู่สวนด้านบน

ที่มา :  Rufus46. 2014. Inselteich im Boboli-Garten, Florenz. . [Internet]. Wikimedia Commons. [cited 2020 Sep 10] Available from:  https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Inselteich_Boboli-Garten_Florenz-17.jpg

พื้นที่ด้านหลังของน้ำพุและอยู่แนวเดียวกันกับอัฒจันทร์รูปเกือกม้านั้นถูกตัดขาดออกจากเนินเขา และถูกล้อมรอบด้วยที่นั่งหินที่ประดับด้วยรูปปั้นในซอก และเสริมด้วยพุ่มไม้ลอเรลที่ตัดแต่งไว้ด้านหลัง ซึ่งยกระดับพื้นที่ลาดซึ่งปกคลุมไปด้วยต้นไอเล็คซ (ilex) ของสวนชั้นบน อัฒจันทร์แห่งนี้เป็นหนึ่งในความสำเร็จของสถาปัตยกรรมสวนสไตล์อิตาลี ในการออกแบบและรายละเอียดโดยทั่วไปมันแสดงถึงของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาที่บริสุทธิ์โดยไม่มีร่องรอยของสไตล์บารอคคิสโมที่เทอะทะและน่าอัศจรรย์ ซึ่งครึ่งศตวรรษต่อมาได้เริ่มทำให้องค์ประกอบดังกล่าวผิดเพี้ยนไป พบในวิลล่าใกล้กรุงโรม อันที่จริงการเปรียบเทียบกับภูมิสถาปัตยกรรมสวนที่แปลกประหลาดของ วิลลาเดอเอสเต้ (Villa d'Este) ที่ทริโวลี (Tivoli) ซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นในภายหลัง แสดงให้เห็นถึงรูปแบบการแสดงออกถึงความรู้สึกของสัดส่วนและรสนิยมที่ละเอียดอ่อนของสไตล์ที่พบได้ในทัสคานี ว่าสืบทอดมาเป็นเวลานานเพียงใด ทั้งยังยืนหยัดท่ามกลางกระแสความต้องการในการออกแบบที่สร้างความประหลาดใจให้ผู้มาเยือน แทนที่จะสร้างเสน่ห์ดึงดูดใจพวกเขาเหล่านั้น

 

 

ภาพที่ 4  อัฒจรรย์ สำหรับพื้นที่จัดงานและชมการแสดง

sailko. 2007. Boboli, anfiteatro. [Internet]. Wikimedia Commons. [cited 2020 Sep 10] Available from:  https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Boboli,_anfiteatro_01.JPG

 

ภาพที่ 5  ทางเดินและแนวต้นไม้ตัดแต่ง ขึ้นบนเนินเขา

ที่มา :  TxllxT, T. 2010. English: Firenze / Florence - Giardino di Boboli - View SSE. [Internet]. Wikimedia Commons. [cited 2020 Sep 10] Available from:  https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Firenze_-_Florence_-_Giardino_di_Boboli_-_View_SSE.jpg

 

ในแต่ละด้านของอัฒจันทร์ จะมีทางเดินพร้อมด้วยแนวของต้นไอเล็คซตัดแต่งตัดขึ้นบนเนินเขาไปข้างบนเนินซึ่งเป็นที่ราบสูง มีทะเลสาบจำลองและเกาะเล็ก ๆ เรียกว่า ไอโซลา เบลลา (Isola Bella) ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นสถานที่แห่งความภาคภูมิใจของสวนโบโบลี พื้นที่ส่วนนี้ถูกละเลย ไม่ได้รับการตกแต่งทางสถาปัตยกรรมและพืชพันธุ์โดยรอบ จนบัดนี้กลายเป็นเพียงความเสื่อมโทรม และสวนชั้นบนเล็ก ๆ ก็เป็นไปในในทำนองเดียวกัน ทั้งที่สามารถเข้าถึงได้โดยการเดินไปตามขั้นบันไดอันโอ่อ่าและยังเป็นพื้นที่ที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์ที่กว้างไกลของเมืองฟลอเรนซ์ เราควรย้อนกลับไปดูแบบแผนผังของสถาปนิกเพื่อดูว่าเขาได้ออกแบบเพื่อแก้ปัญหาของสถานที่ได้อย่างไร และเขาประสานร่มเงาที่หนาแน่นของสวนต้นไอเล็คซ กับพื้นที่เปิดโล่งที่ยิ่งใหญ่และผลกระทบจากความโดดเด่นทางสถาปัตยกรรมได้อย่างไร จึงสามารถสร้างสรรค์พื้นที่สวนคอร์ท ให้กลายเป็นสถานที่สำคัญโดดเด่นในยุคเรอเนสซองส์

 

 

ภาพที่ 6  สระน้ำ ภายในสวนโบโบลี (Boboli Gardens)

ที่มา :  Sailko. 2006. Bobolipond. [Internet]. Wikimedia Commons. [cited 2020 Sep 10] Available from :  https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Bobolipond.jpg

 

เป็นที่น่าสนใจสังเกตถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงที่ว่า สวนดอกไม้ (giardino segreto) ซึ่งในยุคเรอเนสซองส์ มักจะติดกับตัวบ้านตลอด แต่ที่นี่กลับอยู่ด้านบนของเนินเขา ไม่ต้องสงสัยเลยถึงสาเหตุที่สืบเนื่องมาจากการที่พื้นที่ว่างซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับพระราชวังนั้นถูกใช้เป็นพื้นที่สำหรับพิธีการของรัฐ และความบันเทิงในการแสดงละครมากกว่าเพื่อความบันเทิงส่วนตัว

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสวนโบโบลี เป็นสวนคอร์ทและไม่ได้ออกแบบมาเพื่อการใช้งานส่วนตัวจึงมีความน่าสนใจและถูกยกเป็นตัวอย่างเพื่อการศึกษาน้อยกว่าสวนอื่น ๆ ที่มีความสำคัญน้อยกว่า แม้แต่ สวน อื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เมืองฟลอเรนซ์ แม้ว่าจะได้รับการออกแบบในแนวเรียบง่ายกว่ามาก แต่ก็ขาดเสน่ห์ส่วนตัวเช่นเดียวกัน บางทีอาจเป็นเพราะฟลอเรนซ์อยู่ภายใต้การปกครองของครอบครัวที่มีอำนาจมากมานานจน บ้านพักผ่อนของพวกเขามีความหลากหลายน้อยมาก ปราโตลิโน (Pratolino) ปอจจิโอ เอ คาเอียโน (Poggio a Caiano) คาฟัจจิอัวโล (Cafaggiuolo) คาเรจจิ (Careggi), คาสเตลโล (Castello) และ แพทราเอีย (Petraia) ไม่ว่าจะมีต้นกำเนิดอะไรก็ตามในไม่ช้าก็ผ่านเข้าสู่การครอบครองของตระกูลเมดิซี (Medici) และจากนั้นก็กลายเป็นของแกรนด์ดุ๊กชาวออสเตรียที่ประสบความสำเร็จ และในสามสวนที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้บางส่วนคือ คาสเตลโล  แพทราเอีย และคาสเตลโล อาจกล่าวได้ว่าสวนเหล่านี้มีรูปลักษณ์ที่ไม่เป็นทางการเหมือนกับสวนโบโบลี

 


 

บรรณานุกรม

 Wharton, Edith. 1903. Italian Villas and Their Gardens. New York: The Century Co.

 Wharton, Edith. 1903. "Italian Villas and Their Gardens."  [Internet]. The Project Gutenberg eBook [cited 2019 Sep 22]. Available from: https://www.gutenberg.org/ebooks/53495

 

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมือง
งานบริการวิชาการและวิจัย » มือใหม่หัดบินทำแผนที่ด้วยโดรน Ep.1
โดรน (Drone) หรือ อากาศยานไร้คนขับ หรือ UAV (Unmanned Aviation Vehicle) แต่เดิมนั้น มีการใช้งานในหน่วยงานด้านความมั่นคง ในปัจจุบันได้มีการนำมาใช้ใน หลากหลายรูปแบบ เช่น ทางด้านการเกษตร การสำรวจ ตรวจ...
โดรน สถาปัตยกรรม ออกแบบ     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมือง
ผู้เขียน ธวัชชัย มานิตย์  วันที่เขียน 13/9/2562 14:31:05  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 4:42:52   เปิดอ่าน 15677  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
กลุ่มบทความแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป » แนวทางการพัฒนาเมือง : สรุปมุมมองจากปาฐกถาพิเศษ โดย ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี
ข้อความต่อไปนี้เป็นการสรุปความเข้าใจของผู้เขียนที่ได้จากการฟังปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “เศรษฐศาสตร์กับการพัฒนาเมืองในอนุภาคลุ่มน้ำโขง” โดย ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี ในเวทีการประชุมวิชาการระดับชาติด้านสถาปั...
การดำเนินโครงการพัฒนาโดยท้องถิ่น     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมือง
ผู้เขียน นิกร มหาวัน  วันที่เขียน 29/6/2559 21:25:48  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 6:46:25   เปิดอ่าน 5298  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
กลุ่มบทความแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป » แนวทางการพัฒนาเมือง : น่าตื่นเต้นกับประชาชนเมืองขอนแก่น
การพัฒนาโครงการขนาดใหญ่โดยท้องถิ่นเป็นการประยุกต์ใช้แนวความคิดไปสู่การปฎิบัติ ซึ่งต้องพึงพาการสนับสนุน(งบประมาณจากรัฐบาล)จึงเป็นข้อจำกัดในความสำเร็จของการดำเนินโครงการของท้องถิ่นมาโดยตลอด เมืองขอนแ...
การพัฒนาพื้นที่โดยท้องถิ่น     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมือง
ผู้เขียน นิกร มหาวัน  วันที่เขียน 25/6/2559 22:12:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/3/2567 14:01:08   เปิดอ่าน 4431  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม » การออกแบบที่จอดรถใต้ดินเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว ณ มศว. ประสานมิตร
ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเยือนมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนอโศกหรือถนนสุขุมวิท 21 อันเป็นทำเลทองแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ และได้พบเห็นวิธีการแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาดของผู้บริหารมหาวิทยา...
parking  underground  จรัสพิพม์  ใต้ดิน  บุญญานันต์  ประสานมิตร  ศรีนคริทรวิโรฒ  อาคารจอดรถ     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมือง
ผู้เขียน จรัสพิมพ์ บุญญานันต์  วันที่เขียน 13/6/2559 21:41:46  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 0:30:20   เปิดอ่าน 17800  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง