การกระตุ้นการผลิตสารออกฤทธ์ทางชีวภาพกับวิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดถั่งเช่าสีทอง
วันที่เขียน 16/4/2563 12:44:40     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/4/2567 6:15:39
เปิดอ่าน: 1619 ครั้ง

เห็ดถั่งเช่าสีทอง (Cordyceps militaris) เป็นเชื้อราในกลุ่มเชื้อราแมลง จัดอยู่ในกลุ่ม Ascomycetes โดยเห็ดถั่งเช่าสีทองมีสรรพคุณทางยามากมายหลายประการ อาทิเช่น กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต้านการอักเสบ ต้านโรคมะเร็ง และกระตุ้นสมรรถนะทางเพศ เป็นต้น ด้วยเหตุที่ถั่งเช่าสีทองมีสรรพคุณทางยาที่ดีหลาย ๆ ประการนั้น ในปัจจุบันจึงมีนักวิจัยที่ได้รายงานถึงสรรพคุณต่าง ๆ ของเห็ดถั่งเช่าสีทองนั้น มีสรรพคุณเทียบเท่ากับเห็ดถั่งเช่าทิเบต (Ophiocordyceps sinensis) เช่นเดียวกัน การเพาะเลี้ยงเห็ดถั่งเช่าสีทองเพื่อใช้เป็นยานั้น มีการเพาะเลี้ยงและพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงมาอย่างต่อเนื่องในหลาย ๆ ประเทศ เช่น จีนและเกาหลีใต้ เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากเห็ดถั่งเช่าทิเบตตามธรรมชาติมีจำนวนลดน้อยลงและเพาะเลี้ยงได้ค่อนข้างยากเพราะมีข้อจำกัดหลาย ๆ ประการ ในปัจจุบันการเพาะเลี้ยงเห็ดถั่งเช่าสีทองถือเป็นการเพาะเลี้ยงเห็ดเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยเรา ถึงแม้เห็ดดังกล่าวจะมีราคาแพง คือ น้ำหนักดอกเห็ดอบแห้งกิโลกรัมละ 40,000 – 50,000 บาท แต่ในปัจจุบันยังไม่มีข้อกำหนดหรือข้อมาตรฐานว่าเห็ดถั่งเช่าดังกล่าวดีจริงเหมาะสมเพียงใด หรือมีสารออกฤทธิ์ทางยาในระดับที่เหมาะสมหรือไม่ หรือผู้บริโภคซื้อในราคาที่เหมาะสมหรือไม่ ทั้งนี้เนื่องปัจจัยต่าง ๆ ในการผลิตสารออกฤทธิ์ทางยาของกระบวนการเพาะเลี้ยงเห็ดถั่งเช่าสีทอง เช่น อาหารและแสง เป็นต้น จากการเข้าร่วมงานประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ ๑ ของ ศูนย์ความหลากหลายทางจุลินทรีย์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๖๓ ณ สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่นั้น ได้มีคณะวิจัยที่ทำการศึกษาวิจัยถึงรูปแบบการผลิตเห็ดถั่งเช่าสีทองด้วยการใช้ประโยชน์จากแมลงเศรษฐกิจ เช่น ดักแด้ไหม หนอนไหม และจิ้งหรีด เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อผลิตเห็ดถั่งเช่าสีทองให้มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพให้สูงขึ้น และเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายอาหารที่ใช้เพาะเลี้ยงในอีกทางหนึ่งด้วย โดยการวิจัยนั้นจะเป็นการวิจัยแบบต่อเนื่องและใช้เวลาหลาย ๆ ปี โดยเริ่มต้นจากการสังเกตการที่ราถั่งเช่านั้นสามารถใช้อาหารจากตัวแมลงในธรรมชาติได้ ดังนั้นจึงได้นำดักแด้ไหม (Bombyx mori L.) เนื่องจากดักแด้ไหมมีกรดอะมิโนมากกว่าแมลงเศรษฐกิจชนิดอื่น ๆ โดยการนำดักแด้ไหม อาทิ พันธุ์หางลายมาประยุกต์ใช้เป็นอาหารโปรตีนของราถั่งเช่าสีทอง ซึ่งในการเพาะเลี้ยงเห็ดถั่งเช่าสีทองโดยใช้ดักแด้ไหมดังกล่าวนี้ ดอกเห็ดถั่งเช่าสีทองที่ได้นี้มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ คือ cordycepin ในปริมาณที่สูง และได้ศึกษาต่อเนื่องเพื่อดูความเป็นพิษของเห็ดถั่งเช่าสีทองดังกล่าวในหนูทดลอง พบว่า ที่ความเข้มข้นระดับสูง คือ 5,000 มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม นั้น ไม่มีพิษเฉียบพลันในหนูทดลองเลย ดังนั้นแนวคิดการใช้ประโยชน์จากโปรตีนดักแด้ไหมดังกล่าวนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเพาะเลี้ยงเห็ดถั่งเช่าสีทองได้

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1099
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร » Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร
Data Science หรือ วิทยาการข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ โดยครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บข้อมูล (Collect) การจัดการข้อมูล (Manage) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyze) ไปจนถึงขั้นตอนการนำข้อมูลมาช...
Data Science  วิทยาการข้อมูล     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 24/4/2567 13:27:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/4/2567 1:34:10   เปิดอ่าน 16  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดย...
ChatGPT  การประชุมวิชาการ  เทคโนโลยี  วิทยาศาสตร์  สิ่งแวดล้อม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 11/4/2567 15:19:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/4/2567 5:02:38   เปิดอ่าน 31  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิริพร สมุทรวชิรวงษ์  วันที่เขียน 2/4/2567 16:14:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/4/2567 1:49:18   เปิดอ่าน 52  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง