การทำวิจัยและผลงานทางวิชาการสำหรับบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา
วันที่เขียน 7/4/2563 15:24:33     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 17:51:30
เปิดอ่าน: 2317 ครั้ง

R2R ย่อมาจาก Routine to Research แปลว่า พัฒนางานประจำสู่งานวิจัย หลักคิดเกี่ยวกับ R2R นั้นเชื่อว่ามีอยู่หลากหลาย แต่วัตถุประสงค์ของ R2R คือ การใช้ข้อมูลและประสบการณ์จากงาน การทำงานประจำธรรมดาๆ ทั่วๆ ไป ในการสร้างความรู้ คนที่ทำงานประจำเมื่อทำงานไปนานๆ จะเบื่อหน่าย และกลายเป็นเครื่องจักร ชีวิตไม่มีคุณค่า ที่ว่า “ทำงานเป็นเครื่องจักร” แปลว่า ไม่ต้องคิด ทำงานไปวันๆ หนึ่ง ฉะนั้น ยิ่งนานก็ยิ่งเบื่อ R2R เป็นการทำให้งานประจำกลายเป็นงานสร้างความรู้ หรือเป็นงานวิจัย ซึ่งจะทำให้การทำงานประจำกลายเป็นงานที่มีคุณค่า ยิ่งทำงาน นานก็ยิ่งมีปัญญา ยิ่งเกิดความรู้ และยิ่งมีประเด็นที่จะทำให้เกิดความ ภาคภูมิใจได้มากขึ้นเรื่อยๆ จึงยิ่งทำให้ได้รับความนับถือจากคนอื่นมากขึ้น

การทำวิจัยและผลงานทางวิชาการสำหรับบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา

 เทคนิคการทำงานและผลงานทางวิชาการเพื่อพัฒนาบุคลากรและองค์กร เรื่อง ระเบียบวิธีวิจัยและการออกแบบวิจัย สำหรับสายสนับสนุน  

 1. วิจัย คือ อะไร

  • การทำวิจัย (Research) มาจากคำว่า Re และ Search แปลว่า การหาคำตอบจากปัญหาที่สงสัย
  • กระบวนการการแสดงหาความรู้ ความจริงที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะ ผ่านวิธีการที่มีระเบียบ เชื่อถือได้ โดยมี 4 ขั้นตอน คือ
  • ระบุปัญหา
  • ตั้งสมมุติฐาน
  • รวบรวมวิเคราะห์
  • สรุปผล
  • การดำเนินการอย่างเป็นระบบเพื่อค้นหาและรวบรวมความรู้ใหม่
  • กระบวนการสืบเสาะหาคำตอบของสิ่งที่ต้องการทราบอย่างเฉพาะเจาะจงด้วยขั้นตอนการดำเนินงานที่ออกแบบเป็นอย่างดี ช่วยให้เกิดการขยายพรมแดนความรู้ของแต่ละสาขามากขึ้น

หรือ ความหมายทั่วไป ต้อง

  • เป็นประบวนการ
  • เฉพาะเจาะจง
  • ใหม่ หรือเรียกว่ามีอัตลักษณ์ ใหม่จากไหน องค์ความรู้ นวัตกรรม ระเบียบปฏิบัติใหม่
  • กระบวนการสืบเสาะหาคำตอบของสิ่งที่ต้องการทราบอย่างจาะจงด้วยขั้นตอนการดำเนินการที่ออกแบบเป็นอย่างดี ช่วยให้เกิดการขยายพรมแดนความรู้ของแต่ละสาขามากขึ้น

 

  1. จุดมุ่งหมายในการทำวิจัย

มีการจัดกลุ่มวิจัยออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

  1. สำรวจ (Survey) เพื่อให้เข้าใจสภาพการณ์หรือปัญญา มี/ไม่มี มาก/น้อย
  2. อธิบาย (Describe) เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวข้องของการเกิดปรากฏการณ์/ปัญหา โดยกล่าวถึงตัวแปร 2 ตัวแปรขึ้นไป ว่าเกิดจากสาเหตุใด นำไปสู่ผลใด
  3. ทำนาย (Predict) เพื่อให้เข้าใจและตระหนักถึงสาเหตุต้นตอของปัญหา
  4. ควบคุม (Control) ใช้สิ่งทดลอง/นวัตกรรมใหม่ เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ปัญหาที่รู้ว่าปัจจัยคืออะไร บางสิ่งจะแก้ไขอย่างไร และเอาอะไรมาแก้ไข

 

  1. ชนิดของงานวิจัย

3.1 Type A เป็นการสำรวจ (Survey) เข้าใจสภาพปัญหาว่ามี/ไม่มี มาก/น้อย เพียงใด เป็นฐานของทุกอย่าง อยากรู้มันคืออะไร มากน้อยแค่ไหน ส่วนใหญ่ใช้เพียงสถิติในการสรุปผล เช่น ความถี่ ค่าเฉลี่ย สถิติ วัตถุประสงค์จะเขียนว่า เพื่อศึกษา

3.2 Type B ใช้เพื่อ ทำนาย (Predict) หรือ อธิบาย (Describe) ปัญหา เข้าใจเกี่ยวข้องของการเกิดปรากฎการณ์ปัญหา ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร เหตุปัจจัย คืออะไร ทำการสำรวจ และรู้ว่ามีความสัมพันธ์กับอะไรบ้าง พูดถึงตัวแปรที่เกี่ยวข้องกัน 2 ตัวขึ้นไป เป็นเหตุและผล

3.3 Type C ใช้เพื่อควบคุม ใช้สิ่งทดลอง/นวัตกรรม เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์/ปัญหา นวัตกรรมใหม่ เพื่อให้รู้ว่า เหตุปัจจัย คือ อะไร บางสิ่งเอามาแก้ไข จะแก้ไขยังไง

ตัวอย่างของหัวข้องานวิจัยที่แบ่งตาม Type

Type A

  • ความพึงพอใจต่อการบริหารงานด้านกิจการนักศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัย A
  • ความรู้ความเข้าใจของผู้ปฏิบัติงานในระบบการบริหารการเงินการคลังในระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ของหน่วยงานเบิกจ่าย มหาวิทยาลัย A

Type B

  • ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการสนับสนุนของมหาวิทยาลัย ....
  • ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติและนานาชาติของส่วนงานสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

Type C

  • การพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุนเพื่อเข้าสู่มาตรฐาน AASCB คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย A เป็นต้น

 

  1. งานวิจัยของสายสนับสนุน (ส่วนใหญ่ เป็น R2R หรือ Routine to Research)

          R2R ย่อมาจาก Routine to Research แปลว่า พัฒนางานประจำสู่งานวิจัย หลักคิดเกี่ยวกับ R2R นั้นเชื่อว่ามีอยู่หลากหลาย แต่วัตถุประสงค์ของ R2R คือ การใช้ข้อมูลและประสบการณ์จากงาน การทำงานประจำธรรมดาๆ ทั่วๆ ไป ในการสร้างความรู้ คนที่ทำงานประจำเมื่อทำงานไปนานๆ จะเบื่อหน่าย และกลายเป็นเครื่องจักร ชีวิตไม่มีคุณค่า ที่ว่า “ทำงานเป็นเครื่องจักร” แปลว่า ไม่ต้องคิด ทำงานไปวันๆ หนึ่ง ฉะนั้น ยิ่งนานก็ยิ่งเบื่อ R2R เป็นการทำให้งานประจำกลายเป็นงานสร้างความรู้ หรือเป็นงานวิจัย ซึ่งจะทำให้การทำงานประจำกลายเป็นงานที่มีคุณค่า ยิ่งทำงาน นานก็ยิ่งมีปัญญา ยิ่งเกิดความรู้ และยิ่งมีประเด็นที่จะทำให้เกิดความ ภาคภูมิใจได้มากขึ้นเรื่อยๆ    จึงยิ่งทำให้ได้รับความนับถือจากคนอื่นมากขึ้น

ประโยชน์จากการทำ R2R

  1. เกิดกับการพัฒนางาน – ทำให้เกิดองค์ความรู้ กระบวนการใหม่ที่นำสามารถนำใช้เพื่อการพัฒนางานได้
  2. เกิดกับคนทำงานนั่นเอง – เกิดความภาคภูมิใจ ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น

          R2R มีหลักสำคัญ คือ การพัฒนางานไปพร้อมกับการพัฒนาคน งานวิจัยแบบไหนที่ถือว่าเป็น R2R  คำตอบไม่ตายตัว แต่ละหน่วยงานต้องนิยามเองให้เหมาะสมต่อสถานการณ์ และความต้องการของตน อย่างไรก็ตาม หลักในการพิจารณาว่างานศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็น R2R หรือไม่ ให้ดูจาก 4 ส่วน ได้แก่

  1. โจทย์วิจัย คำถามวิจัยของงานต้องมาจากงานประจำ เป็นการแก้ปัญหาหรือพัฒนางานประจำ
  2. ผู้ทำวิจัย ต้องเป็นผู้ทำงานประจำนั้นเอง และเป็นผู้แสดงบทบาทหลักของการวิจัย
  3. ผลลัพธ์ของการวิจัย ต้องวัดที่ผลที่เกิดต่อตัวผู้บริการที่มีผลต่อรับบริการโดยตรง ไม่ใช่วัดที่ตัวชี้วัดทุติยภูมิเท่านั้น
  4. การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ผลการวิจัยต้องวนกลับไปก่อผลเปลี่ยนแปลงต่อการให้บริการโดยตรง หรือต่อการจัดบริการ

 

 

  1. ระเบียบวิจัยทางสังคมศาสตร์ของทุกประเภทงานวิจัย
  2. ระบุปัญหาการวิจัย
  3. สืบค้นองค์ความรู้
  4. พัฒนาโครงร่างงานวิจัย
  5. กำหนดกลุ่มผู้มีส่วนร่วม
  6. พัฒนาเครื่องมือการวิจัย
  7. รวบรวมข้อมูล
  8. จัดการและวิเคราะห์ข้อมูล
  9. แปลผลการวิเคราะห์และเขียนรายงาน
  10. ประยุกต์ใช้ผลและเผยแพร่

 

แหล่งอ้างอิงข้อมูล

 ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชและคณะ. 2551 . R2R : Routine to Research สยบงานจำเจด้วยการวิจัย สู่โลกใหม่ของงานประจำ [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา https://home.kku.ac.th/kitsir/research/html/download/news/r2r.pdf

(วันที่สืบค้น 18 มีนาคม 2563)

ผศ.ดร.สุนทรพจน์ ดำรงพานิช. 2563. ระเบียบวิธีวิจัยและการออกแบบวิจัย (เอกสารประกอบการสัมมนา) สาขาประเมินผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1094
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง » Assignment in Microsoft Teams
การมอบหมายงาน (Assignment ) สำหรับนักศึกษาในห้องเรียน ระบบ Microsoft Teams สร้างความสะดวกในการมอบหมายงานให้กับนักศึกษา การส่งงาน และสามารถให้คะแนนนักศึกษาแต่ละคนในห้องเรียน สำหรับผู้ที่อยู่ในสถาบัน...
Assignment  Microsoft Teams  การมอบหมายงาน  การให้คะแนน     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สุภาพรรณ อนุตรกุล  วันที่เขียน 26/3/2567 18:01:20  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 14:17:32   เปิดอ่าน 108  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมประชุม/อบรม/สัมมนา » Google Sites สร้างเว็บไซต์ได้อย่างง่ายดาย
Google Sites คือโปรแกรมหนึ่งของ บริษััท Google ที่เปิดให้ สมาชิกของ Google สามารถ สร้างเว็บไซต์ของตนเองได้ฟรี โดยการสร้างเว็บไซต์ ด้วย Google Sites นั้น ทำได้ง่าย เหมือนกับการแก้ไข เอกสารธรรมดา ๆ ช...
Google Sites  เว็บไซต์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สุภาพรรณ อนุตรกุล  วันที่เขียน 11/3/2567 17:19:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 13:58:08   เปิดอ่าน 206  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » การกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา CLOs ผ่าน มคอ.3
หัวข้อนี้เน้น การออกแบบหลักสูตรให้ตอบสนองต่อผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร สะท้อนถึงความต้องการ ของผู้ที่เกี่ยวข้องครบทุกภาคส่วน และผลการเรียนรู้นั้นต้องครอบคลุมทั้งความรู้ ทักษะเฉพาะทางและทักษ...
CLO  ELO  PLO     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 18/11/2566 23:45:59  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 10:47:15   เปิดอ่าน 332  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » แอปพลิเคชันสำหรับช่วยในการจัดเรียนการสอน
การเรียนผ่านเครื่องมือช่วยสอนโดยใช้แอปพลิเคชันมีบทบาทในการส่งเสริมและช่วยเหลืออาจารย์และนักศึกษาเป็นอย่างมาก บทความนี้ได้รวบรวม 8 เครื่องมือช่วยสอนสำหรับอาจารย์ในการช่วยจัดการเรียนการสอนให้เกิดความ...
Canva  Kahoot  Nearpod  Plicker  Quizizz  Storyboard  Visme  Voxer     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 18/11/2566 23:01:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 13:58:32   เปิดอ่าน 232  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง