ความสำคัญของการจัดงานเลี้ยงรับรองและประเภทของงานเลี้ยงรับรอง
วันที่เขียน 9/10/2562 9:54:41     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 5:16:52
เปิดอ่าน: 4386 ครั้ง

การจัดงานเลี้ยงรับรองเป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการหารือกันในห้องประชุม เพราะผู้เข้าร่วมงานเลี้ยงรับรองทุกคน จะได้อยู่ในบรรยากาศที่มีความสนุกสนานและเป็นกันเอง ซึ่งจะสามารถนำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์อันดีเพียงพอที่จะสามารถทำความร่วมมือ หรือยุติข้อขัดแย้งที่เคยมีมาได้

ความสำคัญของการจัดงานเลี้ยงรับรอง

งานเลี้ยงรับรอง เป็นกิจกรรมทางสังคมที่มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับการ ปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ โดยไม่เพียงแต่ถือเป็นการแสดงออกซึ่งอัธยาศัยไมตรี และเป็นพื้นฐานที่สำคัญประการหนึ่งสำหรับการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงาน/สถาบันจากนานาประเทศ แต่การรับประทานอาหารร่วมกันเพียงมื้อเดียวอาจแก้ปัญหาของบุคคล ที่เคร่งเครียดจากการประชุมหารือกันมาอย่างยาวนานหลายสัปดาห์ในโต๊ะประชุมได้ อย่างไรก็ตาม การจัดงานเลี้ยงรับรองเป็นงานละเอียดอ่อนที่ผู้เกี่ยวข้องต้องทำความเข้าใจ เตรียมความพร้อม และปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามหลักสากล โดยมุ่งเน้นสร้างบรรยากาศแห่งความสุข ความผ่อนคลาย แต่ต้องไม่ลืมที่จะคำนึงถึงขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม และวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป

ในปัจจุบันงานเลี้ยงรับรองส่วนใหญ่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงแนวทางในการจัดงานเลี้ยงรับรองให้มีลักษณะที่เรียบง่าย ลดความเป็นทางการลง แต่อย่างไรก็ตาม ในวงสังคมที่มีมาตรฐานยังคงรักษาลักษณะของการจัดเลี้ยงแบบมีพิธีรีตรองไว้อยู่เสมอ

การจัดงานเลี้ยงรับรอง ไม่ว่าจะจัดในรูปแบบใด ฝ่ายเจ้าภาพจะต้องพยายามทำให้ดีที่สุด และให้สมเกียรติ เพราะการจัดงานเลี้ยงรับรองในงานประชุม/สัมมนา/อบรมนานาชาติเกี่ยวพันไปถึงเกียรติยศของประเทศชาติด้วย

 

ประเภทของงานเลี้ยงรับรอง

งานเลี้ยงรับรองที่นิยมจัดขึ้นในปัจจุบัน แบ่งเป็นสามประเภท คือ งานเลี้ยงรับรอง (Reception), งานเลี้ยงอาหารกลางวัน (Lunch/Luncheon) และงานเลี้ยงอาหารค่ำ (Dinner)

 1. งานเลี้ยงรับรอง (Reception)

เป็นงานเลี้ยงที่เรียกชื่อตามวัตถุประสงค์ของงาน เป็นอย่างเดียวกับงานเลี้ยง Cocktail ซึ่งเรียกตามชื่อเครื่องดื่มที่เสิร์ฟ งานเลี้ยงประเภทนี้ เจ้าภาพสามารถเชิญแขกได้เป็นจำนวนมาก และไม่ยุ่งยากนักในเรื่องอาหารและเครื่องดื่ม ไม่ต้องจัดเก้าอี้สำหรับแขก อาหารที่เสิร์ฟจะจัดใส่ถาดมาบริการถึงตัว เป็นอาหาร ที่สามารถหยิบจับได้สะดวก (finger food) เป็นชิ้นขนาดพอดีคำ แขกสามารถยืนคุยไปกินไปได้ ซึ่งถือว่าถูกต้องตามมารยาทของคนไปงานเลี้ยงรับรอง ส่วนใหญ่จะจัดขึ้นช่วงระหว่างเวลา 18.00 - 20.00 น. หากเจ้าภาพมีเวลาน้อยและเชิญแขกไม่มากนัก (เชิญเดี่ยว) มักนิยมจัดในช่วงเที่ยงวัน ซึ่งเรียกว่างาน Vin d’honneur

2. งานเลี้ยงอาหารกลางวัน (Lunch/Luncheon)  

เป็นงานเลี้ยงที่เป็นทางการหรือมีพิธีการมากกว่างานเลี้ยงรับรอง แต่น้อยกว่างานเลี้ยงอาหารค่ำ แขกผู้ร่วมงานมักจะแต่งกายด้วยชุดสูทสากลสีอ่อน (Lounge Suit)

3. งานเลี้ยงอาหารค่ำ (Dinner)

เป็นงานเลี้ยงที่มีรูปแบบและพิธีการละเอียดอ่อนเคร่งครัด และมีพิธีรีตรองมาก จะต้อง ใส่่ใจให้มากในการเชิญแขกการจัดเตรียมอาหาร การจัดโต๊ะอาหาร และด้านพิธีการอื่น ๆ การแต่งกายสำหรับงานนี้ โดยมากจะแต่งกายด้วยชุดสากลสีเข้ม (Dark suit) หรือหากเป็นงานที่มีพิธีการมากจะใส่ชุดราตรีสโมสรที่เรียกว่า “Black Tie หรือ White Tie” แล้วแต่ความสำคัญและลักษณะของงาน

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1067
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานบริการการศึกษา
อบรม การพัฒนางานประจำสู่นวัตกรรมการให้บริการ » การพัฒนางานประจำสู่นวัตกรรมการให้บริการ
การปฏิบัติงานในยุคปัจจุบัน ผู้ปฏิบัติงาน นอกจากจะต้องมีความรู้ความสามารถในงานที่ทำแล้ว สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือการพัฒนา ซึ่งการพัฒนาตนเองทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ เกิดทักษะใหม่ๆ ที่จะน...
การพัฒนา  งานประจำ  นวัตกรรม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน กฤตาณัฐ ศรีประภา  วันที่เขียน 22/3/2567 8:02:36  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 10:25:49   เปิดอ่าน 32  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทบทวน Program Learning Outcomes (PLOS) และสร้าง Course Learning Outcomes (CLOs) สู่การจัดทำ มคอ.3 เเละมคอ. 5 เพื่อขับเคลื่อน AUN QA Version 4.0 กิจกรรมที่ 2 การสร้างผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในรายวิชา » กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทบทวน Program Learning Outcomes (PLOS) และสร้าง Course Learning Outcomes (CLOs) สู่การจัดทำ มคอ.3 เเละมคอ. 5 เพื่อขับเคลื่อน AUN QA Version 4.0 กิจกรรมที่ 2 การสร้างผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในรายวิชา
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทบทวน Program Learning Outcomes (PLOS) และสร้าง Course Learning Outcomes (CLOs) สู่การจัดทำ มคอ.3 เเละมคอ. 5 เพื่อขับเคลื่อน AUN QA Version 4.0 กิจกรรมที่ 2 การสร้างผลการเร...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน พัฒนพงศ์ เทียนชัย  วันที่เขียน 10/12/2566 13:41:29  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/3/2567 2:54:18   เปิดอ่าน 100  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทบทวน Program Learning Outcomes (PLOS) และสร้าง Course Learning Outcomes (CLOs) สู่การจัดทำ มคอ.3 เเละมคอ. 5 เพื่อขับเคลื่อน AUN QA Version 4.0 กิจกรรมที่ 1 การสร้างผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในรายวิชา » กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทบทวน Program Learning Outcomes (PLOS) และสร้าง Course Learning Outcomes (CLOs) สู่การจัดทำ มคอ.3 เเละมคอ. 5 เพื่อขับเคลื่อน AUN QA Version 4.0 กิจกรรมที่ 1 การสร้างผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในรายวิชา
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทบทวน Program Learning Outcomes (PLOS) และสร้าง Course Learning Outcomes (CLOs) สู่การจัดทำ มคอ.3 เเละมคอ. 5 เพื่อขับเคลื่อน AUN QA Version 4.0 กิจกรรมที่ 1 การสร้างผลการเร...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน พัฒนพงศ์ เทียนชัย  วันที่เขียน 10/12/2566 13:31:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/3/2567 2:54:18   เปิดอ่าน 99  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง