การเขียน มคอ. 3 รายวิชาศึกษาทั่วไป ตามหลักการ OBE
วันที่เขียน 2/10/2562 11:39:30     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/5/2567 14:08:30
เปิดอ่าน: 2757 ครั้ง

การเขียน มคอ. 3 ตามหลักการ OBE ควรเขียนให้ครอบคลุมและครบถ้วนภาพรวมของรายวิชา สามารถปฏิบัติได้จริงวัดได้และประเมินได้ ประกอบไปด้วยพฤติกรรมการเรียนรู้ 3 ด้าน คือ พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) จิตพิสัย (Affective Domain)และ ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) เพื่อให้รองรับกับเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาแบบ AUN-QA

จากการที่ข้าพเจ้า นางสาว มยุรา ศรีกัลยานุกูล ตำแหน่ง อาจารย์ สังกัด หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้เข้าร่วมอบรม เรื่อง การเขียน มคอ. 3 รายวิชาศึกษาทั่วไป ตามหลักการ OBE ภายใต้กรอบ 21st century MJU GenED เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2562 ณ ห้องประชุม 105 อาคารประเสริฐ ณ นคร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  โดยภายหลังการเข้าร่วมประชุมวิชาการครั้งนี้ ข้าพเจ้าขอนำส่งสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการอบรม ดังต่อไปนี้

          เข้าร่วมฟังบรรยายเรื่องการพัฒนาและปรับปรุงรายวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และการเขียน มคอ. 3 โดย ผศ.ดร. สมเกียรติ อินทสิงห์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เนื้อหาจะกล่าวถึง  มคอ. 3 ซึ่งมีหมวดต่าง ๆ ดังนี้

          หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ประกอบไปด้วย รหัสและชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิต หลักสูตรและประเภทของรายวิชา อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน ภาคการศึกษา/ชั้นปีที่เรียน รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (ถ้ามี) รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (ถ้ามี) สถานที่เรียน วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด

          หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและและวัตถุประสงค์  ซึ่งควรเขียนเป็นเชิงพฤติกรรมที่วัดได้ มีความสอดคล้องกับชื่อวิชาและคำอธิบายรายวิชา ครอบคลุมและครบถ้วนภาพรวมของรายวิชา สามารถปฏิบัติได้จริงวัดได้และประเมินได้ ประกอบไปด้วยพฤติกรรมการเรียนรู้ 3 ด้านคือ

1. พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวกับสติปัญญา ความรู้ ความคิด ความเฉลียวฉลาด ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญา

2. จิตพิสัย (Affective Domain) เป็นพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก ค่านิยม การปรับตัวและลักษณะนิสัยส่วนตัว

3. ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความสามารถทางด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาย ทักษะการปฏิบัติ ซึ่งต้องอาศัยการฝึกฝน ความชำนาญและเชี่ยวชาญของแต่ละบุคคล

          หมวดที่ 3 ลักษณะและการดำเนินการ ประกอบด้วย คำอธิบายรายวิชา จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล

          หมวดที่ 4 การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ได้แก่ การบรรยาย การให้ลงมือปฏิบัติ กิจกรรม Gallery walk กิจกรรมเกมมิฟิเคชั่น การเรียนรู้โดยใช้การทำงานเป็นฐาน การสอนคิดวางแผน การสอนแก้โจทย์ปัญหา โดยมีข้อเสนอแนะ ในกรณีที่มีผู้สอนหลายคน ควรตกลงร่วมกับทีมผู้สอนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ผลการเรียนรู้ต้องสอดคล้องกัน

          หมวดที่ 5 แผนการจัดการเรียนรู้และการประเมินผลการเรียนรู้ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

          หมวดที่ 6 ทรัพยากรประกอบการเรียน ประกอบไปด้วย ตำราและเอกสารหลัก เอกสารและข้อมูลสำคัญ เอกสารและข้อมูลแนะนำ

          หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา โดยมีกลยุท์การประเมินประสิทธิภาพของรายวิชาโดยนักศึกษาและกลยุทธ์การประเมินการสอน จาก แบบประเมินรายวิชาที่ผู้สอนจัดทำขึ้น การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน การสะท้อนจากพฤติกรรมของผู้เรียน การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ การประเมินโดยคณะกรรมการการประเมินการสอน

          จากการเข้าร่วมอบรมครั้งนี้ ทำให้ได้รับความรู้ในเรื่องการเขียน มคอ. 3  สามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมครั้งนี้มาพัฒนาในการเขียน มคอ. 3 และจัดการเรียนการสอน ตามหลักการ OBE ในรายวิชาที่รับผิดชอบเป็นผู้ประสานรายวิชา ได้แก่ วิชา ชว 351 การควบคุมคุณภาพทางเทคโนโลยีชีวภาพ ชว 450 เทคโนโลยีการหมัก ชว 451 การออกแบบทางเทคโนโลยีฃีวภาพ วท 497 สหกิจศึกษา

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1054
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร » Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร
Data Science หรือ วิทยาการข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ โดยครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บข้อมูล (Collect) การจัดการข้อมูล (Manage) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyze) ไปจนถึงขั้นตอนการนำข้อมูลมาช...
Data Science  วิทยาการข้อมูล     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 24/4/2567 13:27:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/5/2567 6:12:59   เปิดอ่าน 44  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดย...
ChatGPT  การประชุมวิชาการ  เทคโนโลยี  วิทยาศาสตร์  สิ่งแวดล้อม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 11/4/2567 15:19:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/5/2567 4:49:21   เปิดอ่าน 72  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิริพร สมุทรวชิรวงษ์  วันที่เขียน 2/4/2567 16:14:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/5/2567 18:35:51   เปิดอ่าน 96  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง